การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth…การเติบโตสีเขียว

การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth…การเติบโตสีเขียว

1. Green Growth คืออะไร

green การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          Green growth หรือการพัฒนาสีเขียว เป็นนโยบายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของโลกให้เติบโตไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดเป็นนโยบายเชิงบังคับสำหรับประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจน และบรรลุเป้าหมายในทางสังคม อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ต้องการแนวทางใหม่สำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้

2.ทำไมต้องพัฒนาแบบสีเขียว

          ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้สืบเนื่องจากปริมาณการส่งออกที่มากขึ้น ส่งผลให้มีการเติบโตในภาคการผลิตอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเติบโตนี้เอง เป็นการเพิ่มภาระทางสิ่งแวดล้อมให้กับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้กลายเป็นผู้รับผิดชอบภาระทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคการผลิตเพื่อผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลก ผลกระทบเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภค ซึ่งจำเป็นจะต้องมีนโยบายรองรับ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่า การพัฒนาเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า “สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง (Grow first, clean up later.)” เป็นแนวคิดที่ไม่สามารถใช้กับภูมิภาคนี้ได้แล้ว เนื่องมาจากการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ในสภาพปัจจุบัน พลังงาน อาหาร และวิกฤติการเงิน เป็นปัจจัยที่มีผลให้ประเทศเหล่านั้น ต้องประเมินวิถีการพัฒนาประเทศในรูปแบบใหม่

 3.ทำอย่างไรให้แนวทางการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ

success การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการพัฒนาจากรูปแบบ สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง มาเป็น แนวความคิดที่เพิ่มความรับผิดชอบในระยะยาว เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้แนวคิดการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายนี้ด้วยการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจพร้อมกับการมุ่งเน้นความห่วงใยสิ่งแวดล้อมและสังคม



4. เส้นทางสู่ Green Growth

4.1 การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP)
          การนำแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประเทศนั้นปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่มองว่า ระบบนิเวศของโลกนั้น มีขีดจำกัดในการรองรับมลพิษ และจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการเดียวที่จะช่วยรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบจนถึงขีดจำกัดที่ว่าคือ การแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ในทางปฏิบัติหมายถึง การใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น และใช้ในปริมาณที่น้อยลง (Getting more from less) ซึ่งรวมถึง การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่มากขึ้น โดยใช้วัตถุดิบน้อยลง การเปรียบเทียบผลประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดขยะ และมลภาวะน้อยลง รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้บริโภคที่มีแนวคิดในการลดการใช้พลังงาน ทรัพยากรน้ำ และการสร้างขยะ
          นวัตกรรมหลักซึ่งเป็นจุดแข็งของการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน คือการส่งเสริมทัศนคติแบบองค์รวม ซึ่งพิจารณาวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการ ร่วมกับกระบวนการผลิตและวิถีการบริโภคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลลัพธ์สุดท้ายในมุมมองทั้ง 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยดำเนินการตามแนวคิดแบบสหวิทยาการ และเสนอกรอบความคิดสำหรับเป็นแนวทางให้นโยบายที่เกี่ยวข้องต่อมา โดยภาครัฐมีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การลงทุนที่จำเป็นสำหรับการจัดสรรทางเลือกในการบริโภคอย่างยั่งยืน
          จากการประชุมสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Rio+20) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2010 ที่ผ่านมา หลายประเทศได้ร่วมตกลงในการนำกรอบดำเนินการ 10 ปีเพื่อการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (the 10-Year Framework of Programmes on Sustainable Consumption and Production: 10YFP) ไปปรับใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ:
  • สนับสนุนนโยบาย และการริเริ่มในระดับภูมิภาค และระดับชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดวงจรการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็ริเริ่มโอกาสทางด้านอาชีพ และการตลาด เพื่อลดปัญหาความยากจน และเพื่อการพัฒนาทางสังคม
  • ผลักดันให้บริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นกระแสหลักในการดำเนินนโยบายการพัฒนาสีเขียว โดยปรับให้เหมาะสม และให้เป็นยุทธศาสตร์ในการลดปัญหาความยากจน
  • ผลักดันให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล และความรู้ ภายในวงจรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ โดยใช้ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการริเริ่ม และการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า หรือ Best practices ยกระดับความตระหนัก เพิ่มความร่วมมือ และพัฒนาพันธมิตรใหม่ รวมถึงการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน
          โดยกำหนด 5 โปรแกรมเริ่มต้น เพื่อนำไปปรับใช้ภายใต้กรอบดำเนินการข้างต้น และเป็นโครงการริเริ่มเพื่อการขยายผลสู่โครงการอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งได้แก่
  • ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค (Consumer information)
  • การดำเนินชีวิต และการศึกษาอย่างยั่งยืน Sustainable lifestyles and education
  • การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่ยั่งยืน Sustainable public procurement
  • การสร้าง และก่อสร้างอย่างยั่งยืน Sustainable buildings and construction
  • การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Sustainable tourismซึ่งรวมถึง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ecotourism 
4.2 ธุรกิจสีเขียว และตลาดสีเขียว (Greening Business and Markets)
          ธุรกิจสีเขียว โดยนิยามหมายถึง ผู้ประกอบการที่มีการกำหนดเป้าหมายให้การป้องกันทางสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ทั้งการส่งเสริมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในกิจกรรมการผลิต และการซื้อขายสินค้าและบริการที่ยั่งยืน การดำเนินธุรกิจแทบจะทุกสาขามีศักยภาพในการปรับปรุงทั้งในเชิงประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากร เพื่อกระตุ้นให้ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไรได้
earth การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว
          ธุรกิจในรูปแบบบริษัท และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน และทำให้การปกป้องสิ่งแวดล้อม กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจได้สำเร็จ ด้วยการเสริมนโยบาย การออกกฎ การจูงใจ และการกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับแนวทางการทำธุรกิจให้มีรูปแบบสีเขียว ภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเรื่องการบรรเทาความยากจน (เป้าหมายข้อที่ 1) และการนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (เป้าหมายข้อที่ 7) โดยปรับให้เข้ากับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลสามารถนำเอานโยบายการพัฒนาสีเขียวซึ่งมีอยู่หลากหลาย มาใช้ในการเปิดกว้างทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคธุรกิจนำเอาแนวทางสีเขียวมาปรับใช้ สิ่งที่สำคัญคือการเสริมสร้างความตระหนักให้กับภาคเอกชน และสาธารณชน ว่าสถานการณ์ขาดแคลนทรัพยากร การดูแลสิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ มิใช่การเพิ่มต้นทุน ซึ่งจะเพิ่มแนวโน้มของภาคธุรกิจในการสร้างเทคโนโลยีที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตสินค้าและบริการอันเป็นมิตรต่อภูมิอากาศโลกได้อย่างมหาศาล
          Carbon Trust องค์กรอิสระ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเรื่องการลดปริมาณการปลดปล่อย GHGs เสนอแนวทางเพื่อให้องค์กรทางธุรกิจต่างๆ ได้รับผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียว โดยให้แนวทาง และแผนดำเนินการ 5 ข้อดังนี้
  • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ: การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการจัดการการใช้พลังงานใหม่ แนวทางนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบริษัท และเพิ่มผลกำไรได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาของแหล่งพลังงานเป็นไปในทิศทางบวกอย่างต่อเนื่อง การลดการใช้พลังงาน หรือปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนดังกล่าว ซึ่ง Carbon Trust ระบุว่า การลงทุนเพียงเล็กน้อย สามารถลดค่าใช้จ่ายทางพลังงานได้มากถึง 20%
  • เพิ่มมูลค่าทางการขายและใช้กระแสของการพัฒนารายได้ใหม่: จากการสำรวจของ Carbon Trust พบว่า มากกว่า 65% ของผู้บริโภคคิดว่าการบริโภคสินค้าจากผู้ผลิตที่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญ การตอบสนองต่อแนวคิดดังกล่างสามารถทำได้โดยการคิดค้น พัฒนาสินค้าและบริการให้อยู่ในกระแสการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทาง หรือเทคโนโลยีใหม่
  • เสริมสร้างความมั่นคงทางชื่อเสียง และเพิ่มความศรัทธาจากผู้บริโภค: บริษัทที่นำเสนอนวัตกรรมที่เป็นผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นที่กล่าวขานในเชิงบวกในหมู่ผู้บริโภค ผู้ขาย และผู้ลงทุน ภาพลักษณ์ของบริษัท และสินค้าจะดีขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันดี และใช้แนวทางการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า
  • การปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์: การดำเนินการโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาสีเขียวที่หลากหลาย จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการถูกปรับทางสิ่งแวดล้อมได้
          เพิ่มพูนประสิทธิภาพของพนักงาน: ขวัญกำลังใจของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตของบริษัท การรักษาสภาพการจ้างงาน และการสรรหาว่าจ้าง การปฏิบัติตามหลักธุรกิจสีเขียว จะดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีพรสวรรค์ และเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นผู้สนับสนุนสำคัญในหารขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางที่ถูกต้อง
4.3 โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
          เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่า โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่เป็นรากฐานของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการขนส่งปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น และบริการทางการสื่อสาร รูปแบบของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานจะต้องคำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ การปรับปรุงและขยายระบบโครงสร้างพื้นฐาน มักจะพบกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง เนื่องจากการเติบโตของสังคมเมือง การขยายเส้นทางของถนน การเพิ่มปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ พลังงาน และ การให้บริการทางสุขอนามัย โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ทั้งพลังงาน น้ำ วัตถุดิบ และพื้นที่ หากไม่มีการวางแผนการจัดการที่ดี โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิตและบริโภคเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ยั่งยืน และยากแก่การเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้คุณภาพบริการจัดส่งถึงบ้าน การคมนาคม พลังงาน น้ำ ขยะ และการบริการทางสุขอนามัยดีขึ้น ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมแบบผสมผสาน  ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ และวิธีการแบบองค์รวม ด้วยการนำเอาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมาใช้ จะช่วยให้การบริการมีคุณภาพดีขึ้น ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดผลกระทบที่เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะโลกร้อน
4.4 ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ (Green Tax and Budget Reform: GTBR)
          ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับนโยบายทางการเงินสำหรับการลดปัญหาความยากจน การเพิ่มภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ  การสาธารณสุข และคุณภาพสิ่งแวดล้อม แนวทางนี้เป็นการขับเคลื่อนหลักเพื่อนำไปสู่ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ธุรกิจสีเขียว การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณจะส่งผลให้เกิดการริเริ่มนโยบายส่งเสริมที่สำคัญอีก 2 เรื่อง ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นโยบายแรกคือ นโยบายภาษีสีเขียว ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีในกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น การสกัดทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การก่อมลภาวะ อีกนโยบายคือการปฏิรูปเงินอุดหนุนสีเขียวประกอบด้วยการกำจัดเงินอุดหนุนที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน และนำเงินส่วนนั้นไปเป็นเงินทุนสำหรับพื้นที่ที่สนับสนุนการพัฒนาสีเขียว และการลดปัญหาความยากจน การปรับใช้นโยบายทั้งสองเรื่องนี้ เป็นการส่งสัญญาณในแง่ของราคาสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นราคาที่สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้อย่างตรงไปตรงมา ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการนำผลกระทบภายนอกเชิงลบมาพิจารณา เพื่อลดภาระทางภาษี และเป็นการป้องกันผลกระทบที่บิดเบือนทางโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณมีเป้าหมายที่จะรักษาสมดุลทางภาษี โดยลดภาษีเงินได้ เงินบำนาญ และ/หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อชดเชยการเพิ่มของภาษีสิ่งแวดล้อม
นโยบายของภาครัฐเพื่อผลักดันระบบภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ
  • ระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control: CAC) โดยการจัดทำมาตรฐาน ติดตามตรวจวัด และการบังคับใช้
  • นโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) ผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
  • นโยบายทางภาษี (Fiscal Policy) โดยรวบรวมเงินทุนของรัฐด้านภาษีมาใช้จ่าย
          เครื่องมือทางการตลาด (Market-based Instrument: MBI)การส่งสัญญาณทางราคาสู่ตลาด เช่น ภาษี เงินอุดหนุน หรือการซื้อขายสิทธิ์ทางการค้า
4.5 ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators)                
          เพื่อให้กลุ่มประเทศในแถบนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของชาติ และการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบในมุมกว้าง  คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ได้ระบุความจำเป็นในการพัฒนาชุดข้อมูลดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators: EEI) ซึ่งเป้าหมายของดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ คือการวัดและเปรียบเทียบค่า ประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์ ในประเทศต่างๆ และเพื่อเป็นการระบุให้มีมาตรการทางนโยบายในการปรับปรุงการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์นี้  ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่จะทำให้ส่งเสริมบทบาทของภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง และจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอำนาจชี้นำต่อรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับชาติในมุมกว้าง

4.6 การลงทุนเกี่ยวกับต้นทุนทางธรรมชาติ (Investment in Natural Capital)
          ต้นทุนทางธรรมชาติในที่นี้ ถือเป็นรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐาน “สีเขียว” ซึ่งสนับสนุนสวัสดิภาพของประชากร และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม โดยมีผู้กล่าวไว้ว่า “คลังต้นทุนทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการหลั่งไหลทางมูลค่าทางระบบสมดุลของสินค้าและบริการสู่อนาคต” (It is a stock of natural ecosystems that yields a flow of valuable ecosystem goods or services into the future: Costanza 2008) ต้นทุนทางธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน มีบทบาทสำคัญในการดูดซับคาร์บอน และทำหน้าที่เป็นตัวปรับความสมดุลต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลสำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์อันสำคัญที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ การลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ โดยการลงทุนใช้จ่ายใด ที่ก่อให้เกิดการจัดการระบบนิเวศที่ยั่งยืน    ซึ่งส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเศรษฐกิจ จะถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติทั้งสิ้น
          การลงทุนเพื่อลดปัญหาการชะล้างหน้าดิน และปัญหาภาระทางสารอาหาร เพื่อปรับปรุงการจัดการลุ่มน้ำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาตินอกจากการสร้างระบบบำบัด น้ำเสีย  ในบรรดาแหล่งนิเวศบริการ (Ecosystem service) เช่น ประเทศเวียดนาม  และประเทศอินโดนีเซีย การลดการหลั่งไหลของระบบนิเวศบริการส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวดเร็ว และส่งผลต่อท้องถิ่น  เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาสในการนำแนวคิด ค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ (Payments for ecosystem Services: PES) มาปรับใช้ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการปกป้องและเพิ่มความสามารถในการบริการเชิงนิเวศ และเป็นการนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นที่ห่างไกล กลไกการลงทุนแบบเฉพาะเช่นนี้ สามารถดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมาลงทุนเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสังคม และเศรษฐกิจ   ในประเทศคอสตาริกา มีการใช้นวัตกรรมค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ เช่น การอนุญาตให้ภาคธุรกิจและปัจเจกบุคคลจ่ายค่าตอบแทนผ่านเวปไซต์ เพื่อลงทุนในการจัดการป่าไม้ นักท่องเที่ยวก็สามารถลงทุนดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านทางสายการบินที่เดินทางสู่ประเทศคอสตาริกา และโรงแรมในประเทศนี้ ค่าตอบแทนจากประเทศอื่นๆ สำหรับระบบนิเวศบริการผ่านทางตลาดป่าไม้คาร์บอนสามารถเป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากผู้ได้รับผลประโยชน์ท้องถิ่น (เช่นผู้ใช้น้ำ และพลังงาน) เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าบริการต่างๆ เช่นกระบวนการกักเก็บคาร์บอน การอนุรักษ์ลุ่มน้ำ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน และยังช่วยบรรเทาปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

5. ตัวอย่างการพัฒนาสีเขียวของประเทศเกาหลีใต้

          ประเทศแรกๆ ที่ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาสีเขียวคือประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียวในช่วงปี 2009-2050 และได้วางแผนสำหรับ 5 ปีแรก (2009-2013) เพื่อให้ประเทศมีกรอบนโยบายที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว  ในระยะยาวจะใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียว โดยมีเป้าหมายคือ
          1) ส่งเสริมให้มีเครื่องกลชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          2) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชากร
          3) มีส่วนร่วมกับนานาชาติในการรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
          และเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ดำเนินไปได้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาสีเขียวได้ถูกต่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีในปี 2009 และต่อมาได้ประกาศกรอบดำเนินการเกี่ยวกับการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำให้มีผลบังคับใช้ในปี 2010
          แผนดำเนินการ 5 ปี เป็นการกำหนดร่างการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อให้เกิดการนำยุทธศาสตร์ไปใช้ และระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวง และส่วนการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งให้งบประมาณพิเศษ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินโดยประมาณ 2% ของรายได้ประชาชาติมาใช้สำหรับเป็นงบประมาณของโครงการเพื่อการพัฒนาสีเขียวนี้ โดยจะเริ่มจากการขับเคลื่อนด้วยการลงทุนกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

6. การพัฒนาสีเขียวกับประเทศไทย

6.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติและระดับอื่นๆ โดยกำหนดให้บรรจุวาระเกี่ยวกับนโยบายสีเขียวลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559) โดยเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ
6.2 แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593
          แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกรอบดำเนินการในการผสานนโยบายและแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นแผนแม่บทที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และปรัชญาการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของไทย แผนแม่บทกล่าวถึงยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการได้แก่
          1) การบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
          2) การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคคล และองค์กร และเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นปัญหาร่วม
         3) การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การริเริ่มจากทุกภาคส่วน
ภาคพลังงาน
  • ตั้งเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานให้ได้ 25% ภายในปี 2030 โดยใช้พลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้พลังงานให้ได้ 20%
  • สร้างแผนดำเนินการระยะ 20 ปี เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงาน และพลังงานทางเลือก
ภาคป่าไม้ และการเกษตร
  • ส่งเสริมความสามารถของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มอัตราการดูดซับคาร์บอนผ่านการปลูกป่า และการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน
  • จัดสรรงบประมาณแห่งชาติ เพื่อก่อตั้งศูนย์ข้อมูล และระบบดาวเทียมในการติดตาม เฝ้าระวังพื้นที่ป่า การใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
ภาคของเสีย
  • พัฒนาการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากของเสีย รวมทั้งแผนที่จะสร้างโรงผลิตในกรุงเทพมหานคร
ภาคท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มนโยบาย เมืองสะอาด ใจสะอาด (Clean City Clean Mind) และ เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) โดยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางเทคนิคแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=7403

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น