Blog

Joe's Food Blog

1. Green Growth คืออะไร

green การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          Green growth หรือการพัฒนาสีเขียว เป็นนโยบายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของโลกให้เติบโตไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดเป็นนโยบายเชิงบังคับสำหรับประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจน และบรรลุเป้าหมายในทางสังคม อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ต้องการแนวทางใหม่สำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้

2.ทำไมต้องพัฒนาแบบสีเขียว

          ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้สืบเนื่องจากปริมาณการส่งออกที่มากขึ้น ส่งผลให้มีการเติบโตในภาคการผลิตอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเติบโตนี้เอง เป็นการเพิ่มภาระทางสิ่งแวดล้อมให้กับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้กลายเป็นผู้รับผิดชอบภาระทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคการผลิตเพื่อผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลก ผลกระทบเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภค ซึ่งจำเป็นจะต้องมีนโยบายรองรับ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่า การพัฒนาเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า “สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง (Grow first, clean up later.)” เป็นแนวคิดที่ไม่สามารถใช้กับภูมิภาคนี้ได้แล้ว เนื่องมาจากการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ในสภาพปัจจุบัน พลังงาน อาหาร และวิกฤติการเงิน เป็นปัจจัยที่มีผลให้ประเทศเหล่านั้น ต้องประเมินวิถีการพัฒนาประเทศในรูปแบบใหม่

 3.ทำอย่างไรให้แนวทางการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ

success การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการพัฒนาจากรูปแบบ สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง มาเป็น แนวความคิดที่เพิ่มความรับผิดชอบในระยะยาว เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้แนวคิดการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายนี้ด้วยการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจพร้อมกับการมุ่งเน้นความห่วงใยสิ่งแวดล้อมและสังคม



4. เส้นทางสู่ Green Growth

4.1 การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP)
          การนำแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประเทศนั้นปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่มองว่า ระบบนิเวศของโลกนั้น มีขีดจำกัดในการรองรับมลพิษ และจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการเดียวที่จะช่วยรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบจนถึงขีดจำกัดที่ว่าคือ การแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ในทางปฏิบัติหมายถึง การใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น และใช้ในปริมาณที่น้อยลง (Getting more from less) ซึ่งรวมถึง การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่มากขึ้น โดยใช้วัตถุดิบน้อยลง การเปรียบเทียบผลประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดขยะ และมลภาวะน้อยลง รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้บริโภคที่มีแนวคิดในการลดการใช้พลังงาน ทรัพยากรน้ำ และการสร้างขยะ
          นวัตกรรมหลักซึ่งเป็นจุดแข็งของการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน คือการส่งเสริมทัศนคติแบบองค์รวม ซึ่งพิจารณาวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการ ร่วมกับกระบวนการผลิตและวิถีการบริโภคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลลัพธ์สุดท้ายในมุมมองทั้ง 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยดำเนินการตามแนวคิดแบบสหวิทยาการ และเสนอกรอบความคิดสำหรับเป็นแนวทางให้นโยบายที่เกี่ยวข้องต่อมา โดยภาครัฐมีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การลงทุนที่จำเป็นสำหรับการจัดสรรทางเลือกในการบริโภคอย่างยั่งยืน
          จากการประชุมสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Rio+20) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2010 ที่ผ่านมา หลายประเทศได้ร่วมตกลงในการนำกรอบดำเนินการ 10 ปีเพื่อการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (the 10-Year Framework of Programmes on Sustainable Consumption and Production: 10YFP) ไปปรับใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ:
  • สนับสนุนนโยบาย และการริเริ่มในระดับภูมิภาค และระดับชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดวงจรการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็ริเริ่มโอกาสทางด้านอาชีพ และการตลาด เพื่อลดปัญหาความยากจน และเพื่อการพัฒนาทางสังคม
  • ผลักดันให้บริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นกระแสหลักในการดำเนินนโยบายการพัฒนาสีเขียว โดยปรับให้เหมาะสม และให้เป็นยุทธศาสตร์ในการลดปัญหาความยากจน
  • ผลักดันให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล และความรู้ ภายในวงจรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ โดยใช้ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการริเริ่ม และการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า หรือ Best practices ยกระดับความตระหนัก เพิ่มความร่วมมือ และพัฒนาพันธมิตรใหม่ รวมถึงการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน
          โดยกำหนด 5 โปรแกรมเริ่มต้น เพื่อนำไปปรับใช้ภายใต้กรอบดำเนินการข้างต้น และเป็นโครงการริเริ่มเพื่อการขยายผลสู่โครงการอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งได้แก่
  • ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค (Consumer information)
  • การดำเนินชีวิต และการศึกษาอย่างยั่งยืน Sustainable lifestyles and education
  • การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่ยั่งยืน Sustainable public procurement
  • การสร้าง และก่อสร้างอย่างยั่งยืน Sustainable buildings and construction
  • การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Sustainable tourismซึ่งรวมถึง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ecotourism 
4.2 ธุรกิจสีเขียว และตลาดสีเขียว (Greening Business and Markets)
          ธุรกิจสีเขียว โดยนิยามหมายถึง ผู้ประกอบการที่มีการกำหนดเป้าหมายให้การป้องกันทางสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ทั้งการส่งเสริมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในกิจกรรมการผลิต และการซื้อขายสินค้าและบริการที่ยั่งยืน การดำเนินธุรกิจแทบจะทุกสาขามีศักยภาพในการปรับปรุงทั้งในเชิงประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากร เพื่อกระตุ้นให้ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไรได้
earth การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว
          ธุรกิจในรูปแบบบริษัท และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน และทำให้การปกป้องสิ่งแวดล้อม กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจได้สำเร็จ ด้วยการเสริมนโยบาย การออกกฎ การจูงใจ และการกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับแนวทางการทำธุรกิจให้มีรูปแบบสีเขียว ภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเรื่องการบรรเทาความยากจน (เป้าหมายข้อที่ 1) และการนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (เป้าหมายข้อที่ 7) โดยปรับให้เข้ากับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลสามารถนำเอานโยบายการพัฒนาสีเขียวซึ่งมีอยู่หลากหลาย มาใช้ในการเปิดกว้างทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคธุรกิจนำเอาแนวทางสีเขียวมาปรับใช้ สิ่งที่สำคัญคือการเสริมสร้างความตระหนักให้กับภาคเอกชน และสาธารณชน ว่าสถานการณ์ขาดแคลนทรัพยากร การดูแลสิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ มิใช่การเพิ่มต้นทุน ซึ่งจะเพิ่มแนวโน้มของภาคธุรกิจในการสร้างเทคโนโลยีที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตสินค้าและบริการอันเป็นมิตรต่อภูมิอากาศโลกได้อย่างมหาศาล
          Carbon Trust องค์กรอิสระ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเรื่องการลดปริมาณการปลดปล่อย GHGs เสนอแนวทางเพื่อให้องค์กรทางธุรกิจต่างๆ ได้รับผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียว โดยให้แนวทาง และแผนดำเนินการ 5 ข้อดังนี้
  • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ: การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการจัดการการใช้พลังงานใหม่ แนวทางนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบริษัท และเพิ่มผลกำไรได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาของแหล่งพลังงานเป็นไปในทิศทางบวกอย่างต่อเนื่อง การลดการใช้พลังงาน หรือปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนดังกล่าว ซึ่ง Carbon Trust ระบุว่า การลงทุนเพียงเล็กน้อย สามารถลดค่าใช้จ่ายทางพลังงานได้มากถึง 20%
  • เพิ่มมูลค่าทางการขายและใช้กระแสของการพัฒนารายได้ใหม่: จากการสำรวจของ Carbon Trust พบว่า มากกว่า 65% ของผู้บริโภคคิดว่าการบริโภคสินค้าจากผู้ผลิตที่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญ การตอบสนองต่อแนวคิดดังกล่างสามารถทำได้โดยการคิดค้น พัฒนาสินค้าและบริการให้อยู่ในกระแสการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทาง หรือเทคโนโลยีใหม่
  • เสริมสร้างความมั่นคงทางชื่อเสียง และเพิ่มความศรัทธาจากผู้บริโภค: บริษัทที่นำเสนอนวัตกรรมที่เป็นผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นที่กล่าวขานในเชิงบวกในหมู่ผู้บริโภค ผู้ขาย และผู้ลงทุน ภาพลักษณ์ของบริษัท และสินค้าจะดีขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันดี และใช้แนวทางการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า
  • การปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์: การดำเนินการโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาสีเขียวที่หลากหลาย จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการถูกปรับทางสิ่งแวดล้อมได้
          เพิ่มพูนประสิทธิภาพของพนักงาน: ขวัญกำลังใจของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตของบริษัท การรักษาสภาพการจ้างงาน และการสรรหาว่าจ้าง การปฏิบัติตามหลักธุรกิจสีเขียว จะดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีพรสวรรค์ และเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นผู้สนับสนุนสำคัญในหารขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางที่ถูกต้อง
4.3 โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
          เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่า โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่เป็นรากฐานของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการขนส่งปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น และบริการทางการสื่อสาร รูปแบบของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานจะต้องคำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ การปรับปรุงและขยายระบบโครงสร้างพื้นฐาน มักจะพบกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง เนื่องจากการเติบโตของสังคมเมือง การขยายเส้นทางของถนน การเพิ่มปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ พลังงาน และ การให้บริการทางสุขอนามัย โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ทั้งพลังงาน น้ำ วัตถุดิบ และพื้นที่ หากไม่มีการวางแผนการจัดการที่ดี โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิตและบริโภคเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ยั่งยืน และยากแก่การเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้คุณภาพบริการจัดส่งถึงบ้าน การคมนาคม พลังงาน น้ำ ขยะ และการบริการทางสุขอนามัยดีขึ้น ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมแบบผสมผสาน  ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ และวิธีการแบบองค์รวม ด้วยการนำเอาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมาใช้ จะช่วยให้การบริการมีคุณภาพดีขึ้น ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดผลกระทบที่เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะโลกร้อน
4.4 ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ (Green Tax and Budget Reform: GTBR)
          ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับนโยบายทางการเงินสำหรับการลดปัญหาความยากจน การเพิ่มภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ  การสาธารณสุข และคุณภาพสิ่งแวดล้อม แนวทางนี้เป็นการขับเคลื่อนหลักเพื่อนำไปสู่ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ธุรกิจสีเขียว การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณจะส่งผลให้เกิดการริเริ่มนโยบายส่งเสริมที่สำคัญอีก 2 เรื่อง ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นโยบายแรกคือ นโยบายภาษีสีเขียว ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีในกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น การสกัดทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การก่อมลภาวะ อีกนโยบายคือการปฏิรูปเงินอุดหนุนสีเขียวประกอบด้วยการกำจัดเงินอุดหนุนที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน และนำเงินส่วนนั้นไปเป็นเงินทุนสำหรับพื้นที่ที่สนับสนุนการพัฒนาสีเขียว และการลดปัญหาความยากจน การปรับใช้นโยบายทั้งสองเรื่องนี้ เป็นการส่งสัญญาณในแง่ของราคาสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นราคาที่สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้อย่างตรงไปตรงมา ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการนำผลกระทบภายนอกเชิงลบมาพิจารณา เพื่อลดภาระทางภาษี และเป็นการป้องกันผลกระทบที่บิดเบือนทางโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณมีเป้าหมายที่จะรักษาสมดุลทางภาษี โดยลดภาษีเงินได้ เงินบำนาญ และ/หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อชดเชยการเพิ่มของภาษีสิ่งแวดล้อม
นโยบายของภาครัฐเพื่อผลักดันระบบภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ
  • ระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control: CAC) โดยการจัดทำมาตรฐาน ติดตามตรวจวัด และการบังคับใช้
  • นโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) ผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
  • นโยบายทางภาษี (Fiscal Policy) โดยรวบรวมเงินทุนของรัฐด้านภาษีมาใช้จ่าย
          เครื่องมือทางการตลาด (Market-based Instrument: MBI)การส่งสัญญาณทางราคาสู่ตลาด เช่น ภาษี เงินอุดหนุน หรือการซื้อขายสิทธิ์ทางการค้า
4.5 ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators)                
          เพื่อให้กลุ่มประเทศในแถบนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของชาติ และการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบในมุมกว้าง  คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ได้ระบุความจำเป็นในการพัฒนาชุดข้อมูลดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators: EEI) ซึ่งเป้าหมายของดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ คือการวัดและเปรียบเทียบค่า ประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์ ในประเทศต่างๆ และเพื่อเป็นการระบุให้มีมาตรการทางนโยบายในการปรับปรุงการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์นี้  ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่จะทำให้ส่งเสริมบทบาทของภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง และจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอำนาจชี้นำต่อรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับชาติในมุมกว้าง

4.6 การลงทุนเกี่ยวกับต้นทุนทางธรรมชาติ (Investment in Natural Capital)
          ต้นทุนทางธรรมชาติในที่นี้ ถือเป็นรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐาน “สีเขียว” ซึ่งสนับสนุนสวัสดิภาพของประชากร และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม โดยมีผู้กล่าวไว้ว่า “คลังต้นทุนทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการหลั่งไหลทางมูลค่าทางระบบสมดุลของสินค้าและบริการสู่อนาคต” (It is a stock of natural ecosystems that yields a flow of valuable ecosystem goods or services into the future: Costanza 2008) ต้นทุนทางธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน มีบทบาทสำคัญในการดูดซับคาร์บอน และทำหน้าที่เป็นตัวปรับความสมดุลต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลสำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์อันสำคัญที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ การลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ โดยการลงทุนใช้จ่ายใด ที่ก่อให้เกิดการจัดการระบบนิเวศที่ยั่งยืน    ซึ่งส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเศรษฐกิจ จะถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติทั้งสิ้น
          การลงทุนเพื่อลดปัญหาการชะล้างหน้าดิน และปัญหาภาระทางสารอาหาร เพื่อปรับปรุงการจัดการลุ่มน้ำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาตินอกจากการสร้างระบบบำบัด น้ำเสีย  ในบรรดาแหล่งนิเวศบริการ (Ecosystem service) เช่น ประเทศเวียดนาม  และประเทศอินโดนีเซีย การลดการหลั่งไหลของระบบนิเวศบริการส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวดเร็ว และส่งผลต่อท้องถิ่น  เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาสในการนำแนวคิด ค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ (Payments for ecosystem Services: PES) มาปรับใช้ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการปกป้องและเพิ่มความสามารถในการบริการเชิงนิเวศ และเป็นการนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นที่ห่างไกล กลไกการลงทุนแบบเฉพาะเช่นนี้ สามารถดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมาลงทุนเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสังคม และเศรษฐกิจ   ในประเทศคอสตาริกา มีการใช้นวัตกรรมค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ เช่น การอนุญาตให้ภาคธุรกิจและปัจเจกบุคคลจ่ายค่าตอบแทนผ่านเวปไซต์ เพื่อลงทุนในการจัดการป่าไม้ นักท่องเที่ยวก็สามารถลงทุนดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านทางสายการบินที่เดินทางสู่ประเทศคอสตาริกา และโรงแรมในประเทศนี้ ค่าตอบแทนจากประเทศอื่นๆ สำหรับระบบนิเวศบริการผ่านทางตลาดป่าไม้คาร์บอนสามารถเป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากผู้ได้รับผลประโยชน์ท้องถิ่น (เช่นผู้ใช้น้ำ และพลังงาน) เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าบริการต่างๆ เช่นกระบวนการกักเก็บคาร์บอน การอนุรักษ์ลุ่มน้ำ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน และยังช่วยบรรเทาปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

5. ตัวอย่างการพัฒนาสีเขียวของประเทศเกาหลีใต้

          ประเทศแรกๆ ที่ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาสีเขียวคือประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียวในช่วงปี 2009-2050 และได้วางแผนสำหรับ 5 ปีแรก (2009-2013) เพื่อให้ประเทศมีกรอบนโยบายที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว  ในระยะยาวจะใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียว โดยมีเป้าหมายคือ
          1) ส่งเสริมให้มีเครื่องกลชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          2) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชากร
          3) มีส่วนร่วมกับนานาชาติในการรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
          และเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ดำเนินไปได้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาสีเขียวได้ถูกต่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีในปี 2009 และต่อมาได้ประกาศกรอบดำเนินการเกี่ยวกับการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำให้มีผลบังคับใช้ในปี 2010
          แผนดำเนินการ 5 ปี เป็นการกำหนดร่างการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อให้เกิดการนำยุทธศาสตร์ไปใช้ และระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวง และส่วนการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งให้งบประมาณพิเศษ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินโดยประมาณ 2% ของรายได้ประชาชาติมาใช้สำหรับเป็นงบประมาณของโครงการเพื่อการพัฒนาสีเขียวนี้ โดยจะเริ่มจากการขับเคลื่อนด้วยการลงทุนกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

6. การพัฒนาสีเขียวกับประเทศไทย

6.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติและระดับอื่นๆ โดยกำหนดให้บรรจุวาระเกี่ยวกับนโยบายสีเขียวลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559) โดยเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ
6.2 แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593
          แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกรอบดำเนินการในการผสานนโยบายและแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นแผนแม่บทที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และปรัชญาการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของไทย แผนแม่บทกล่าวถึงยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการได้แก่
          1) การบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
          2) การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคคล และองค์กร และเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นปัญหาร่วม
         3) การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การริเริ่มจากทุกภาคส่วน
ภาคพลังงาน
  • ตั้งเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานให้ได้ 25% ภายในปี 2030 โดยใช้พลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้พลังงานให้ได้ 20%
  • สร้างแผนดำเนินการระยะ 20 ปี เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงาน และพลังงานทางเลือก
ภาคป่าไม้ และการเกษตร
  • ส่งเสริมความสามารถของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มอัตราการดูดซับคาร์บอนผ่านการปลูกป่า และการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน
  • จัดสรรงบประมาณแห่งชาติ เพื่อก่อตั้งศูนย์ข้อมูล และระบบดาวเทียมในการติดตาม เฝ้าระวังพื้นที่ป่า การใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
ภาคของเสีย
  • พัฒนาการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากของเสีย รวมทั้งแผนที่จะสร้างโรงผลิตในกรุงเทพมหานคร
ภาคท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มนโยบาย เมืองสะอาด ใจสะอาด (Clean City Clean Mind) และ เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) โดยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางเทคนิคแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=7403

1.1 Carbon Footprint (CF) คืออะไร สำคัญอย่างไร?

           “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA : Life Cycle Assessment) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นการต่อยอดจากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วในอดีต ซึ่งมุ่งไปที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และหาตัวชี้วัดค่อนข้างยากสำหรับ LCA

           ส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ CF ซึ่งต่อไปเราจะเคยชินกับคำว่า CF สามารถคำนวณออกมาเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ ชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันชนิดใดที่มีคาร์บอนต่ำกว่า ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่า ส่งผลกระทบก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่การคิดคำนวณก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องอาศัยฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ สำหรับประเทศไทยค่อนข้างโชคดีที่ MTEC:ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พากเพียรพยายามจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (National Life CycleInventory Database) จนสามารถใช้เป็นข้อมูลในหลายๆ ผลิตภัณฑ์เพื่อทำโครงการนำร่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์
image0022 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพตัวอย่างเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศต่างๆ
1.2 LCI Database มีความสำคัญอย่างไร
          นานาชาติที่เป็นประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นใช้ LCI Database เป็นฐานข้อมูลพื้นฐานในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ โดย LCI Database กำลังถูกผลักดันให้เป็นมาตรฐานสากล (ISO) เนื่องจากวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ดี ในการประเมินความเป็นมิตรของผลิตภัณฑ์ บริการและองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Eco-Products/Eco-Label/Eco-Efficiency/Carbon Footprint สำหรับประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมก่อนใครในอาเซียน ภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้และพัฒนา Eco-products ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ส่วนภาครัฐก็สามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
1.3 สถานการณ์ของ Carbon Footprint (CF) ในประเทศไทย
          องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และ MTEC เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จาก CF โดยได้ร่วมกันจัดพิธีลงนาม การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ และฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตพร้อมการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมสยามซิตี้ มีการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จัดแสดงเครื่องหมาย CF แจ้งปริมาณคาร์บอนมาให้ความรู้กันอย่างคับคั่ง และได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช เป็นประธานในพิธี
1.4 วิธีการประเมิน CF: Carbon Footprint
         เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประกาศใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อนการประกาศมาตรฐานการประเมินตาม ISO 14067 ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งวิธีการจะไม่แตกต่างจากที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้
image0041 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพ CFP คำนวนจากวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ใน 5 ระยะ
โดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการคำนวณและดำเนินการ CF ดังนี้
(1) จัดทำ Life Cycle Flow Chart ของผลิตภัณฑ์
(2) เก็บข้อมูลในโรงงาน
(3) นำข้อมูลมาเปลี่ยนเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คูณด้วย CO2 emission intensity)
(4) รวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากทุกกระบวนการ = CF
พูดง่ายๆ ก็คือนำคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากทุกกระบวนการมาบวกกัน โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจาก MTEC ก็จะได้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ : CF
1.5 ตัวอย่าง การคำนวณ CF โครงการนำร่อง Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย
5 บริษัทชั้นนำอาสาเข้าโครงการนำร่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประกอบด้วย
1. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการบนเครื่องบิน
2. บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ 100%
3. บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด ผลิตภัณฑ์เสื้อยืด Cotton 100%
4. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์อาหารไก่
5. บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อก จำกัด ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยจะขอยกตัวอย่างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่คำนวณได้จากโครงการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้
image0063 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพตาราง CFP ของข้าวแกง + แกงเขียวหวานไก่ + ผัดผัก และมัสมั่นไก่
1.6 เก็บตกจากการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CF)
          ท่านทราบหรือไม่ว่า การสระผมซึ่งโดยปกติใช้น้ำอุ่น เครื่องทำน้ำอุ่นใช้ไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ต้องนำมารวมด้วย หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง CF ของข้าวปั้นญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยไส้ปลาดิบหลาย ๆ ชนิด เมื่อนำข้าวใส่ไส้ปลาดิบแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกันปรากฏว่าข้าวปั้นปลาดิบไส้ปลาคอด (Cod) ซึ่งเป็นปลาน้ำลึกอยู่ไกลต้องใช้ทรัพยากรมาก มีค่า CF สูงที่สุด สำหรับท่านที่ชอบน้ำอัดลมกระป๋องหรือกล่องแบบ UHT ซึ่งการคิดคำนวณ ต้องนำ CF จากกระป๋องหรือกล่องมารวมกับน้ำอัดลม หรือนมในกล่อง จึงจะได้ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เราใช้ ในอนาคตอันใกล้ ท่านสามารถรวม CF ในแต่ละวันที่ท่านเป็นผู้ก่อเริ่มตั้งแต่อาหารมื้อเช้า น้ำอัดลม นม พอถึงที่ทำงานพื้นพรมก็มี CF และอีกหลายๆ อย่างรอบๆ ตัวก็จะมี CF กลับมาถึงบ้านอาบน้ำสระผมยาสระผมก็ยังมี CF ซึ่งวิถีชีวิตในแต่ละวันท่านอาจสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มก๊าซเรือนกระจกอย่างมากมาย หากรัฐมีนโยบายการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม PPP: Polluter Pays Principle เงินเดือนอาจไม่พอใช้ก็ได้คาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นภาระหรือพันธะของผู้ประกอบการ อยู่ที่มุมมองของท่าน แต่ที่แน่นอน CF จะต้องกลายเป็น NBT: Non Tariff Barrier หรือข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอากรในอีกไม่นานเกินรอจึงควรติดดาวให้กลุ่มนักวิชาการที่รณรงค์ในเรื่องนี้จนมีความพร้อมก่อนประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ดังนั้นองค์กรของรัฐที่ใช้งบประมาณแผ่นดินภาษีของประชาชน ก็ควรเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่พยายามออกกฎระเบียบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติ

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=5640
1 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกับชีวิตมีความสำคัญในด้านการเป็นความรู้พื้นฐานของการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน สังคม ประเทศ และโลก รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางอันเกื้อกูลต่อการพัฒนาตามครรลองของการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานับว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long  Learning) ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภททั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและการเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันตามอัธยาศัย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนพลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกภาคส่วนของสังคมตามเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ
          โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจิตสำนึก และเจตคติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

1. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ อะไร
          โรงเรียนที่มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนของโรงเรียนเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและของโลก  และพร้อมที่เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2. แนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการโรงเรียน  Eco-school
          โลกใบนี้อยู่ในภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม  ความท้าทายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสร้างพลเมืองได้มีความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ  และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  แต่ควรเป็นการสร้างพลเมืองที่จะสามารถปรับตัวและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
          แนวคิดของอีโคสคูลจึงมองเห็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา  คือ  การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มองเห็นความซับซ้อนของปัญหาความเชื่อมโยงกันของมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  การเมืองและวัฒนธรรม  และที่สำคัญ  คือ  พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ลังเลชักช้า
ดังนั้น  การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนจึงไม่สามารถจำกัดกรอบอยู่เพียงในตำราหรือห้องเรียน  แต่ควรเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว  มีเรื่องราวและปัญหาของท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการเรียนรู้  โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค  ระดับประเทศและระดับโลก
          เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และในสาขาอาชีพต่างๆก็สามารถผนึกเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ได้

3. หลักการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
          หลักการ  ” การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ” หรือ whole  school  approach  for  Environmental  education  เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน  อันประกอบด้วยพันธกิจ ๔ ด้าน  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์  และพัฒนา  และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง  “ พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ”

3 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school

นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ   ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านอื่นๆ  ให้ประสบความสำเร็จหรือพัฒนาโรงเรียนได้ทั้งระบบ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเป็นสำคัญ
           การจัดกระบวนการเรียนรู้   เป็นพันธะกิจที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่โรงเรียนและตัวนักเรียน    ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง   ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมของชุมชนที่นักเรียนอาศัย
           การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  จัดการเรียนรู้  “ ทางอ้อม ”  ให้กับผู้เรียน   เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่เป็น  “ วิถีปฏิบัติ ”  ปกติในโรงเรียนให้ขยายผลไปสู่บ้านและชุมชนของนักเรียนได้
           การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา   เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กทั้งบุคลากรฝ่ายต่างๆในโรงเรียน  และระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน   และโรงเรียนกับชุมชนภายนอก

4. อยากพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน  Eco-school  จะต้องทำอย่างไร
4 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          ๑. ทำความเข้าใจเรื่อง  “ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ”
          ๒. กำหนดคุณลักษณะที่อยากเห็นในตัวผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน
          ๓. พร้อมใจก้าวไปด้วยกันทั้งโรงเรียนและชุมชน
5 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นอีโคสคูล นั้น    จะให้ความสำคัญกับการ  “ ต่อยอด ” หรือ “ ปรับ/พัฒนา ” งานเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
          ๑. สำรวจต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนจากกรอบพันธกิจ ๔ ด้าน และกรอบการประเมินตนเอง
          ๒. วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนและประเมินทางเลือกพัฒนา *
หมายเหตุ  สามารถศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ “ คู่มือแนวทางการพัฒนาอีโคสคูล”http://ecoschoolsthailand.org/phocadownload/development-resize.pdf
6 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     ข้อมูลจากขั้นที่สองนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตามสภาพแวดล้อม  บริบททางสังคม วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง
พึงระวังกรอบพันธะกิจ ๔  ด้าน  ไม่ใช่ภาระผูกมัด  แต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้โรงเรียนก้าวเดินอย่างมั่นใจและเหมาะสมตามความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียน
71 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     โรงเรียนควรประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะ โดยใช้หลักเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นเครื่องมือ  เงื่อนไขของเวลาในการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่ง  มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  สิ่งสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนรู้ คือ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. จุดเน้นของ Eco-school
          ๑. กระบวนการพัฒนาโรงเรียนจะต้องเน้นให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกของนักเรียน  บุคลากรในโรงเรียน  และชุมชนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
          ๒. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน
          ๓. มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  พัฒนาการคิดเชิงระบบ
          ๔. บูรณาการประเด็นท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่าง  เช่น
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการขยะและมลพิษ
  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • การอนุรักษ์  ฟื้นฟูวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ

         ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
         ๖. โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชน
         ๗. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. Eco-school ในประเทศไทย
       กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD)  โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
        นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง
8 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school            สถาบันฯ ได้พัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี  โดยส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียน 77 จังหวัดทั่วประเทศร่วมดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน 4 แนวทางการดำเนินงาน คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน การลดขยะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงเรียน และการดำเนินงานในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8,600 ตัน ขณะที่ในโครงการลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง สามารถสนับสนุนให้โรงเรียน 7 แห่งดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จนสามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “ลดโลกร้อน ด้วยวิธีพอเพียง” และมีโรงเรียนเครือข่ายอีก 14 แห่งดำเนินงานด้านการพิทักษ์ภูมิอากาศด้วยวิถีพอเพียง

7. Eco school ในต่างประเทศ
          ในประเทศอังกฤษโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ Eco school เป็นหลักสูตรนานาชาติของการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับโรงเรียน โดยมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม (Foundation for Environmental Education : FEE) เป็นผู้ก่อตั้งและสนับสนุนโปรแกรมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา  โดยจุดมุ่งหมายของ Eco school คือการสร้างความตระหนักของนักเรียนในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาในห้องเรียนและชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมต่างๆ เช่น  น้ำเสีย ขยะพลังงาน  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ความหลากหลายทางชีวภาพ   คุณภาพชีวิต  แผนปฏิบัติการท้องถิ่น21  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจะต้องดำเนิน 7 ขั้นตอน คือ
          1) Establishment of the Eco-schools Committee
          2) Environmental review
          3) Action Plan
          4) Monitoring and Evaluation
          5) Curriculum Linking
          6) Informing and involving the wider community
          7) Eco-Code
10 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
      และเมื่อโรงเรียนประสบความสำเร็จ​​ก็จะได้รับรางวัลที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการจนสำเร็จ คือ  ‘ธงสีเขียว









ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. แนวทางการสร้างสรรค์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
         นปดล  นพเคราะห์ และคณะ (2556). การศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาใตะวันออกเฉียงเหนือ
         http://www.eco-schools.org/
         http://ecoschoolsthailand.org
         http://www2.keepbritaintidy.org/ecoschools/
         http://www.tei.or.th/w_ee/index.html

Green Technology: เทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ลองมาดูกันว่าเทคโนโลยีด้านระบบไอทีนั้น มีเทคโนโลยีไหนหรือเทคโนโลยีของใครบ้างที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของโลก และรายละเอียดของการรักษาสภาพแวดล้อมภายในเทคโนโลยีนั้น ๆ มีอะไรบ้าง
รู้จักกับ Green Technology
เมื่อพูดถึงคำว่า เทคโนโลยี เราก็มักจะนึกถึงแอพพลิเคชันที่ช่วยสร้างชิ้นงานหรือความรู้ เพราะคำว่า Green Technology หรือเทคโนโลยีสีเขียวเป็นวิวัฒนาการ, วิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการ แก้ไข ปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งผลที่ได้จากการใช้งานของวิธีการและอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ สะอาดขึ้น
Green Computer
Green ComputerGreen Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ ประกอบไปด้วยพลังงานหน่วยประมวลผลศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพ (ซีพียู) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของทรัพยากรและการจัดการเรื่องการสิ้นเปลืองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Waste)
  • ให้ซีพียูและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน ลดการใช้พลังงานลง
  • ลดพลังงานและการจ่ายไปให้แก่อุปกรณ์เสริมที่ไม่ได้ใช้งานนาน เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์
  • ให้หันมาใช้จอภาพหรือมอนิเตอร์ในแบบ Liquid-Crystal-Display (LCD) แทนการใช้มอนิเตอร์ Cathode-Ray-Tube (CRT)
  • ถ้าเป็นไปได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะกินไฟและใช้พลังงานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
  • ใช้ฟีเจอร์ Power-Management ให้ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และหน้าจอมอนิเตอร์หากไม่ได้มีการใช้งานติดต่อกันนานๆ หลายนาที
  • ใช้กระดาษให้น้อยที่สุด และถ้าเป็นไปได้ก็ให้นำกระดาษกลับมาใช้งานหมุนเวียนอีก
  • ลดการใช้พลังงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชัน เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กและข้อมูลส่วนกลาง
Green Data Center
ศูนย์กลางข้อมูลสีเขียวศูนย์กลางข้อมูลสีเขียว คือ การใช้งานทางด้านการจัดเก็บข้อมูล การจัดการทางด้านข้อมูลและการแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พลังงานสูงสุดแต่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งการออกแบบการคำนวณจะเน้นศูนย์กลางข้อมูลสีเขียวรวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงและยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น
  • ใช้อุปกรณ์ที่แผ่กระจายแสงได้น้อยๆ อย่างการปูพรม
  • การออกแบบที่สนับสนุนสภาพแวดล้อม
  • ลดการสิ้นเปลืองโดยการนำกลับมาใช้ซ้ำ
สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานระบบไอที
KSC Green it
เชื่อหรือไม่ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่นี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งเมื่อใช้งานอยู่ก็คงไม่รบกวนโลกมาก แต่พอเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง เราก็อัพเกรด จวบจนวันหนึ่งที่ไม่สามารถอัพเกรดได้ก็ต้องเอาไปขายเป็นเศษเหล็ก ซึ่งก็ได้เงินมาไม่กี่บาท แต่ขยะคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ แถมยังก่อมลพิษทางด้านอากาศ สิ่งแวดล้อมให้แก่โลกอีกด้วย เพราะในส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เรานั้น ก็มีทั้งที่ประกอบไปด้วย พลาสติก อะลูมิเนียม สังกะสี และอื่นๆ
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานได้คิดประดิษฐ์นำเอาไม้ไผ่เข้ามาเป็นส่วนประกอบกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือเดี๋ยวนี้ถุงพลาสติกที่เราใส่ของก็ย่อยสลายยาก จนบางห้างสรรพสินค้ารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกเพื่อลดการเปิดปัญหาโลกร้อนหลายคนกำลังรณรงค์ไม่ให้โลกร้อนเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ทุกคนบนโลกช่วยกันแก้ปัญหา และร่วมมือทั้งการปิดแอร์เมื่อไม่ใช้งาน ดับเครื่องรถยนต์เมื่อต้องจอดรอเป็นเวลานานๆ และอีกหลายร้อยวิธีที่ช่วยให้โลกของเราอยู่ร่วมกับเราไปได้อีกนาน ต้องช่วยกันตั้งแต่วันนี้

ที่มา: http://www.ksc.net/greenit/green_technology.html
     การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆและกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกในปัจจุบัน ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology) การผลิตที่สะอาด (Cleaner Production) การป้องกันมลพิษ (Promotion Prevention) รวมไปถึงการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดในกระบวนการผลิต (Waste Minimization) ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในกระบวนการผลิตของตนเอง

1. เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
     เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย

1.1 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
     หลักการของเทคโนโลยีสะอาด มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งหลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา โดยลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยวิธีการแยกสารพิษที่เกิดขึ้นจากการบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
หรือ การนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนกระทั่งของเสียเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก จึงนำไปบำบัดหรือกำจัดตามหลักวิชาการต่อไป

3 300x180 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
ภาพที่ 1 หลักการจัดการของเสียของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://tps38-21.blogspot.com/2013/03/blog-post_1557.html
4 1024x949 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
ภาพที่ 2 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
ที่มา : http://jumpon-yangomoot.blogspot.com/2012/09/blog-post_18.html

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
     1.2 การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
     1. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) อาจทำได้โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือการออกแบบให้มีอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
      - การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งได้ 3 กลุ่ม อันประกอบด้วย
      - การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ลดหรือเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตรายเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
      - การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่ การปรับปรุงแผนผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
      - การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operation Management) เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและลดการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดการระบบ การบริหารงานในโรงงานอย่างชัดเจน
2.กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้ 2 แนวทางคือ
     2.1 การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยการนำวัตถุดิบที่ไม่คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ การใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่กับของเสีย โดยการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือ กระบวนการผลิตในขั้นตอนอื่น
     2.2 การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก

แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือ การป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยทำได้ตามขั้นตอนที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
  • การลดที่แหล่งกำเนิด
  • การใช้หมุนเวียน
  • การบำบัด
  • การปล่อยทิ้ง
     การดำเนินการตามหลักการของเทคโนโลยีสะอาด คือ จะเน้นการลดมลพิษที่ต้นกำเนิดมากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายทาง กล่าวคือ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้หลักการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ของเสียที่เกิดขึ้น ต้องมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดของเสียที่จะส่งไปสู่ขั้นตอนการบำบัดของเสียที่นำไปบำบัดผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
     1) การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
     2) การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
     3) การประเมินผล (Assessment)
     4) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
     5) การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

     หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

     2. ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
     บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ    กว่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด “หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน”  เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
     นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว
     ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย

5 การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=8145

หลายคนอาจจะรู้จักพืช GMO หรือที่ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms กันเป็นอย่างดีว่าเป็นอย่างไร ซึ่งพืช GMO นั้นเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม โดยเฉพาะจำพวกพักผลไม้ไม่ว่าจะเป็น มะเขือเทศ ข้าวโพด แอปเปิล มันฝรั่ง ถั่วเหลือง มะละกอ ทั้งนี้เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะตามความต้องการของคน เช่น ให้มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืชคงทนต่อสภาพแวดล้อม ให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้คุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น เป็นต้น



อย่างไรก็ตามการปลูกพืช GMO นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทยเนื่องนักวิชาการหลายคนเกรงว่าจะมีสารปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และก่อให้เกิดผลเสียต่อพืชที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชที่เป็นพันธุกรรมดั่งเดิม
ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนหลายคนมองว่า พลังงานทดแทนอีกชนิดหนึ่งที่หน้าสนใจคือพืชพลังงาน GMO เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาทิ เช่น สบู่ดำ ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น โดย รศ.ดร.สมบัติ  ทีฆทรัพย์ ประธานกลุ่ม



อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกว่าแนวโน้มจะเป็นไปได้สูงกว่า 80% ที่จะมีการพัฒนาพืชพลังงานให้เป็นพืชGMO ในไทยเนื่องจากว่าแหล่งพลังงานธรรมชาติในประเทศไทยเริ่มลดน้อยลง และราคาพลาสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผู้ประกอบการณ์อาจนำเอาก๊าซธรรมชาติไปผลิตเป็นพลาสติกมากกว่าผลิตเป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลทำให้ราคาแก๊สเพิ่มขึ้นและเป็นไปตามกลไกตลาด



ฉะนั้นพืชพลังงาน GMO จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่หน้าสนใจในการพัฒนาต่อยอดเพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังประมาณปี 2560 โดยต้นทุนต่อผลผลิตจะต่ำกว่าการพัฒนาพืชพลังงานที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็น GMO อย่างไรก็ตามในการพัฒนาพลังงานทดแทนนั้นทุกอย่างต้องทำควบคู่กับพัฒนาพลังงานทดแทนด้านอื่นไปพร้อมกันเพื่อให้มีทางเลือกด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น


โดย : รังสรรค์ อรัญมิตร ผู้สื่อข่าวนิตยสาร Energy Saving
ที่มา : http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=15&cno=920


        ศิลปินชาวอังกฤษสร้างเกาะลอยได้บนขวดพลาสติก 150,000 ใบ พร้อมด้วยพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบเก็บเกี่ยวน้ำฝน ถังหมักในห้องน้ำ และยังมีพื้นที่สีเขียวในเม็กซิโก 

ย้อนกลับไปในปี 1998 ศิลปินชาวอังกฤษนามว่า ริชาร์ต โซวา ได้สร้างสรรค์ผลงานอันยิ่งใหญ่ด้วยการสร้างเกาะลอยได้ที่ให้ชื่อว่า “Spiral island “ บนถุงตาข่ายขวดพลาสติกจำนวน 250,000 ใบ รองรับด้วยโครงสร้างไม้อัดและไม้ไผ่ พร้อมด้วยพื้นที่สีเขียวปลูกพืชได้บนทะเลสาบในเม็กซิโก 

ด้วยโครงสร้างบ้าน 2 ชั้น ประกอบไปด้วยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ถักหมักของเสียในห้องน้ำ และระบบพึ่งพาตนเองอย่างครบครัน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปี 2005 เกาะแห่งนี้นั้นได้ถูกทำลายลงด้วยพายุเฮอริเคนเอมิลี่ แต่นั่นก็ไม่ทำให้ทุกอย่างต้องจบสิ้นไปด้วย เมื่อในปลายปี 2007 ริชาร์ต ได้สร้างสรรค์เกาะมหัศจรรย์ขึ้นอีกครั้งบนน่านน้ำ "Isla Mujeres"

ซึ่งเกาะแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า “Joyxee Island” บนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร และขยายออกไปเป็น 25 เมตร พร้อมด้วยพืชพรรณและป่าโกงกางที่เติบโตขึ้น 

โดยเกาะแห่งใหม่นั้นประกอบไปด้วยบ้านที่มีระบบพึ่งพาตนเองด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งระบบพลังงานคลื่นเพื่อการซักผ้า รวมถึงถักหมักในห้องน้ำ ระบบเก็บเกี่ยวน้ำฝน พื้นที่สีเขียวที่ประกอบไปด้วยน้ำตก ลำธาร 2 บ่อน้ำ บนขวดพลาสติกทั้งสิ้น 150,000ใบ 











ที่มา http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=15&cno=6122
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 22 เม.ย. 2557 18:45
          เนื่องในวันที่ 22 เม.ย. ของทุกปีเป็นวันเอิร์ธเดย์ หลายคนคงพยายามทำให้ออฟฟิศของตัวเองเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงมี 6 วิธีง่ายที่จะทำให้สำนักงานที่เราต้องทำงานทุกวันกลายเป็น Green Office ตั้งแต่ออกประตูบ้านยันโต๊ะที่นั่งทำงาน...
          เนื่องในวันที่ 22 เม.ย. ของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก (เอิร์ธเดย์) หลายคนคงพยายามทำให้บ้านของตัวเองเป็นบ้านที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานกันอย่างเต็มที่ แต่สถานที่อีกแห่งที่เราต้องใช้่ชีวิตเกือบทั้งวัน คือ สำนักงาน หรือออฟฟิศ จะทำอย่างไรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เว็บไซต์ Mashable มีวิธีง่ายมาแนะนำ ในการสร้างพื้นที่สีเขียวในสำนักงาน
          1. การรีไซเคิล หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เราอาจจะตั้งถังขยะที่แบ่งแยกประเภทตามสีต่างๆ กระตุ้นให้คนในออฟฟิศมาช่วยกันคัดแยกขยะ อาทิ กระดาษ กระป๋องอลูมิเนียม พลาสติก หรือแก้ว รวมทั้งขยะที่เป็นอันตราย เช่น ก้อนถ่านไฟฉาย และตลับหมึกพิมพ์
           2. ใช้งานกระดาษให้คุ้มค่า พริ้นเตอร์สำนักงานถือเป็นอุปกรณ์ที่ทุกๆ สำนักงานต้องมี และยังเป็นศูนย์กลางของขยะจากการผลิตเอกสาร หากมีการใช้งานด้วยการพิมพ์กระดาษหน้าเดียว ดังนั้น เราควรใช้งานกระดาษ 2 ด้าน ไม่ใช่แค่เป็นการประหยัดค่ากระดาษ แต่ยังเป็นการทำให้คนคิดทบทวนก่อนจะสั่งพิมพ์ หรือส่งเอกสารให้ใครๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษได้ ด้วยการส่งไฟล์ไปเปิดอ่านทางคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือแม้แต่อีเมล์
ประหยัดพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้่า
          3. ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นไปได้ลองสังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องหมาย Energy Star มาใช่้ทดแทนเครื่องเก่า เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายนี้แสดงว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พลังงานได้คุ้มค่า
          สำหรับ Energy Star เป็นมาตรฐานรับรอง และใช้ในการโปรโมตผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากอุปกรณ์สำนักงานทางเลือก เช่น ดินสอไม้ไผ่ พริ้นเตอร์ที่ใช้กระดาษรีไซเคิลได้ หลอดไฟแอลอีดี สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและที่อื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ควรปลูกฝังนิสัยการประหยัดด้วยการปิดหน้าจอ และคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย
          4. ปรับปรุงห้องครัวใหม่ อีกหนึี่งทางที่จะหยุดการสร้างขยะเพิ่มขึ้น ลดการใช้พลาสติก แก้ว คือ การใช้ภาชนะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการล้าง ไม่ว่าจะเป็นจาน ชาม และของใช้ในครัวต่างๆ กระตุ้นให้คนในออฟฟิศหันมาใช้แก้วส่วนตัวแทนที่แก้วกระดาษ หนือนำเอาเครื่องครัวส่วนตัวมาใช้เอง
          จากรายงานของ Earth911 ระบุว่าในแต่ละปีชาวอเมริกันที่ทำงานออฟฟิศใช้แก้วกว่า 500 ใบ และส่วนมากเป็นแก้วกระดาษและแก้วพลาสติกที่ต้องโดนทิ้งไป รวมทั้งช้อนและส้อมพลาสติก โดยหากเอามาเรียงต่อกันขยะเหล่านี้สามารถวนรอบโลกผ่านเส้นศูนย์สูตรได้ถึง 300 รอบ นอกจากนี้เมื่อไม่มีคนอยู่ออฟฟิศ ควรดึงปลั๊กเตาไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง และ เครื่องทำกาแฟ รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ทุกครั้ง และจะให้ดีหากนำอาหารมาจากบ้านควรใส่ถุงผ้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะดีที่สุด
หากลดการใช้รถได้ 2 วันต่อสัปดาห์จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,600 ปอนด์ต่อปี
          6. สร้างทีมงานที่ยั่งยืน ทุกสิ่งที่กล่าวมาจะสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในออฟฟิศและเพื่อนร่วมงาน ที่จะสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น โดยในออฟฟิศอาจมีการมอบรางวัลพิเศษสำหรับคนที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อสร้างความสนุกสนาน และทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อจูงใจให้คนเข้าร่วม
คนในออฟฟิศต้องร่วมใจกัน เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/418148