Blog

Joe's Food Blog






ณ วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 โรงเรียนของเรา(เบญจมราชูทิศ ราชบุรี) ได้พาไปทัศนศึกษาที่ จ. พระนครศรีอยุธยา ออกเดินทางจากโรงเรียนเวลาประมาณ 06.30 น.ถึงอยุธยาเวลาประมาณ 09.30 น.

   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
     อยุธยา หลายคนรู้จักดี ด้วยประวัติครั้นเมื่อเป็นราชธานีเก่าแก่กว่า 700 ปี ได้รับจาก UNESCO เป็น มรดกโลก มีวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์นับร้อยแห่ง

ถานที่แรกคือ พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ 
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ 
 เป็นอาคาร 2 ชั้นสีฟ้า ชั้นบนนิทรรศการงานสะสมเกี่ยวกับวิถีไทย มีอายุหลายร้อบปีได้แก่ เครื่องกระเบื้อง เครื่องแก้ว ข้าวของเครื่องใช้ เงินตรา เครื่องเงิน เครื่องถม 
ชั้นล่างนิทรรศการงานสะสมเกี่ยวกับของเล่นโบราณ มีอายุ 50-150 ปี ผลิตจากประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน อเมริกาและไทย 
เรามาดูบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์ ล้านของเล่น

ป้ายใหญ่เห็นได้ชัด ไม่เลยแน่นอน

อาคาร 2 ชั้น สีขาวตัดด้วยสีฟ้า หน้าต่างหลายบานมาก
เพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ประหยัดค่าไฟไปได้เยอะนะ 





สาวกโดราเอม่อน ห้ามพลาด!!!

มีจิตรกรรมฝาผนังให้เราได้ถ่ายรูป
Super man 


แผนที่สำหรับการเดินทางไปพิพิธภัณฑ์


รายละเอียดเพิ่มเติม
ที่ตั้ง : 45 หมู่ 2 ถ.อู่ทอง ต. ท่าวาสุกรี อ. เมืองพระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์  035-328-949 ถึง 50
มือถือ  081 - 890 - 5782 , 086-334-4581
โทรสาร 035-328-951
เวลาทำการ : 9.00 - 16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์ ยกเว้น วันจันทร์ที่เป็นวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ พิพิธภัณฑ์เปิดทำการปกติ
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก​​ 20 บาท
http://www.milliontoymuseum.com

----------------------------------------------------------------------------

ถานที่ที่สองที่เราไป คือ วัดพระเมรุราชิการาม 
วัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเคยเป็นวัดที่พม่าใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาและอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาวัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มักเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา



บริเวณหน้าวัด 

ว้าว!! เป็นไรได้ไงเนี่ย O_O



ทำบุญกันเถอะ -/\-

----------------------------------------------------------------------------
ถานที่ที่สามที่เราไปคือ วัดวิหารมงคลบพิตร  
เป็นวัดโบราณสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยที่ตั้งของวัดมงคลบพิตรและพระราชวังโบราณตั้งอยู่ติดกัน นักท่องเที่ยวจึงนิยมเข้ามานมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ และบริเวณทางด้านหน้าวิหารวัดพระมงคลบพิตร มีร้านค้าตั้งเรียงรายมากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิดเช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสานเครื่องหวาย มีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆเหมาะสำหรับผู้สนใจซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ


ถ่ายไกลๆยังสวยเลย
พระมงคลบพิตรนับว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง
ของกรุงศรีอยุธยาและเป็นที่เคารพสักการะมานานนับร้อยๆปี

สถาปัตยกรรมอันสวยงามแบบนี้ ไม่ถ่ายเก็บไว้ไม่ได้แล้ว แชะ!!

----------------------------------------------------------------------------

ถานที่สุดท้ายของการทัศนศึกษาครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทุกคนที่มาอยุธยาต้องแวะ คือ ตลาดน้ำอโยธยา นั่นเอง!!

ตลาดน้ำอโยธยา แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็น บนเนื้อที่ 60 ไร่ ตั้งอยู่ที่เดียวกับปางช้างอโยธยาข้าง วัดมเหยงคณ์ จะเรียกได้ว่าเป็นตลาดน้ำที่ยิงใหญ่ที่สุดในเมืองอยุธยา เป็นตลาดย้อนยุคแบบโบราณ แวดล้อมไป ด้วยธรรมชาติ แบบไทยพื้นบ้านและสายน้ำ จัดแบ่งเป็นโซนๆ ตลาดน้ำอโยธยามีร้านค้ามากถึง 249 ร้าน ประกอบ ด้วยเรือสินค้า ขายอาหาร 50 ลำ ตลาดนัดชุมชนวิถีไทกว่าอีก 40 ร้าน และร้านค้าต่างๆ อีก 159 ร้าน มีสะพานเดิน ริมแม่น้ำเพื่อ เลือกซื้อสินค้าจากกลุ่มชาวบ้านต่างอำเภอ หรือสินค้า OTOP มากมายหลากหลายชนิด


เป็นที่ไปถึงแล้วต้องวิ่งไปถ่ายรูปก่อนกันเลย ฟิ้ววว~~ 

บรรกาศภายในของตลาดน้ำ

ร้อนไปนิด แต่ก็เดิน 

ร้านค้าเยอะแยะเลย


ไปถึงหาของกินก่อนเลย หิวมากกก 
เที่ยงๆบ่ายๆ คนเยอะมากกกก

อาหารน่ากินและอร่อยมาก
หลังจากกินอาหารเสร็จ เราก็ต้องหาของติดไม้ติดมือระหว่างทางเที่ยวในบริเวณตลาดน้ำ
พวกเราขอแนะนำเลย ไข่กระโหลก 

คนเยอะมาก ใช้เวลาในการรอนานมาก แต่คุ้มกับการรอนะ 

ของคาวไปแล้ว มาเอาของหวานลงท้องกันบ้างดีกว่า 



แผนที่สำหรับการเดินทางไปตลาดน้ำอโยธยา

รายละเอียดเพิ่มเติม
ตลาดน้ำอโยธยา 65/12 หมู่ 7 ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดทุกวัน ตั้ง แต่วันจันทร์ –อาทิตย์  เวลา 10.00น.-21.00น. 
โทรศัพท์ 0-3588-1733
http://www.ayothayafloatingmarket.com


----------------------------------------------------------------------------


ทั้งหมด 4 สถานที่นี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอยุธยา ซึ่งคนที่ไปอยุธยาจะต้องแวะแน่นอน จังหวัดอยุธยาเป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความนิยมกัน ทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศเราดีขึ้น 
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสถานที่ที่สวยๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธา  คณะครูที่ได้จัดทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ให้พวกเราได้มาศึกษาและได้ความรู้เพิ่มเติมและขาดไม่ได้เลยเพื่อนนักเรียนชั้นม.5 ที่ทำให้การทัศนศึกษาครั้งนี้สนุกแบบมีความสุขฝุดๆ 


~แล้วพบกันใหม่นะคะ~
  

1. Green Growth คืออะไร

green การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          Green growth หรือการพัฒนาสีเขียว เป็นนโยบายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของโลกให้เติบโตไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดเป็นนโยบายเชิงบังคับสำหรับประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจน และบรรลุเป้าหมายในทางสังคม อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ต้องการแนวทางใหม่สำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้

2.ทำไมต้องพัฒนาแบบสีเขียว

          ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้สืบเนื่องจากปริมาณการส่งออกที่มากขึ้น ส่งผลให้มีการเติบโตในภาคการผลิตอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเติบโตนี้เอง เป็นการเพิ่มภาระทางสิ่งแวดล้อมให้กับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้กลายเป็นผู้รับผิดชอบภาระทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภาคการผลิตเพื่อผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลก ผลกระทบเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภค ซึ่งจำเป็นจะต้องมีนโยบายรองรับ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่า การพัฒนาเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า “สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง (Grow first, clean up later.)” เป็นแนวคิดที่ไม่สามารถใช้กับภูมิภาคนี้ได้แล้ว เนื่องมาจากการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ในสภาพปัจจุบัน พลังงาน อาหาร และวิกฤติการเงิน เป็นปัจจัยที่มีผลให้ประเทศเหล่านั้น ต้องประเมินวิถีการพัฒนาประเทศในรูปแบบใหม่

 3.ทำอย่างไรให้แนวทางการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ

success การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว          การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการพัฒนาจากรูปแบบ สร้างก่อน เก็บกวาดทีหลัง มาเป็น แนวความคิดที่เพิ่มความรับผิดชอบในระยะยาว เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้แนวคิดการพัฒนาสีเขียวประสบผลสำเร็จ รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายนี้ด้วยการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจพร้อมกับการมุ่งเน้นความห่วงใยสิ่งแวดล้อมและสังคม



4. เส้นทางสู่ Green Growth

4.1 การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP)
          การนำแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประเทศนั้นปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่มองว่า ระบบนิเวศของโลกนั้น มีขีดจำกัดในการรองรับมลพิษ และจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการเดียวที่จะช่วยรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบจนถึงขีดจำกัดที่ว่าคือ การแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ในทางปฏิบัติหมายถึง การใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น และใช้ในปริมาณที่น้อยลง (Getting more from less) ซึ่งรวมถึง การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่มากขึ้น โดยใช้วัตถุดิบน้อยลง การเปรียบเทียบผลประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดขยะ และมลภาวะน้อยลง รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้บริโภคที่มีแนวคิดในการลดการใช้พลังงาน ทรัพยากรน้ำ และการสร้างขยะ
          นวัตกรรมหลักซึ่งเป็นจุดแข็งของการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน คือการส่งเสริมทัศนคติแบบองค์รวม ซึ่งพิจารณาวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการ ร่วมกับกระบวนการผลิตและวิถีการบริโภคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลลัพธ์สุดท้ายในมุมมองทั้ง 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยดำเนินการตามแนวคิดแบบสหวิทยาการ และเสนอกรอบความคิดสำหรับเป็นแนวทางให้นโยบายที่เกี่ยวข้องต่อมา โดยภาครัฐมีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การลงทุนที่จำเป็นสำหรับการจัดสรรทางเลือกในการบริโภคอย่างยั่งยืน
          จากการประชุมสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Rio+20) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2010 ที่ผ่านมา หลายประเทศได้ร่วมตกลงในการนำกรอบดำเนินการ 10 ปีเพื่อการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (the 10-Year Framework of Programmes on Sustainable Consumption and Production: 10YFP) ไปปรับใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ:
  • สนับสนุนนโยบาย และการริเริ่มในระดับภูมิภาค และระดับชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดวงจรการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และแบ่งแยกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็ริเริ่มโอกาสทางด้านอาชีพ และการตลาด เพื่อลดปัญหาความยากจน และเพื่อการพัฒนาทางสังคม
  • ผลักดันให้บริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นกระแสหลักในการดำเนินนโยบายการพัฒนาสีเขียว โดยปรับให้เหมาะสม และให้เป็นยุทธศาสตร์ในการลดปัญหาความยากจน
  • ผลักดันให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล และความรู้ ภายในวงจรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ โดยใช้ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการริเริ่ม และการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า หรือ Best practices ยกระดับความตระหนัก เพิ่มความร่วมมือ และพัฒนาพันธมิตรใหม่ รวมถึงการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน
          โดยกำหนด 5 โปรแกรมเริ่มต้น เพื่อนำไปปรับใช้ภายใต้กรอบดำเนินการข้างต้น และเป็นโครงการริเริ่มเพื่อการขยายผลสู่โครงการอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งได้แก่
  • ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค (Consumer information)
  • การดำเนินชีวิต และการศึกษาอย่างยั่งยืน Sustainable lifestyles and education
  • การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่ยั่งยืน Sustainable public procurement
  • การสร้าง และก่อสร้างอย่างยั่งยืน Sustainable buildings and construction
  • การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Sustainable tourismซึ่งรวมถึง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ecotourism 
4.2 ธุรกิจสีเขียว และตลาดสีเขียว (Greening Business and Markets)
          ธุรกิจสีเขียว โดยนิยามหมายถึง ผู้ประกอบการที่มีการกำหนดเป้าหมายให้การป้องกันทางสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ทั้งการส่งเสริมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในกิจกรรมการผลิต และการซื้อขายสินค้าและบริการที่ยั่งยืน การดำเนินธุรกิจแทบจะทุกสาขามีศักยภาพในการปรับปรุงทั้งในเชิงประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากร เพื่อกระตุ้นให้ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไรได้
earth การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : Green growth...การเติบโตสีเขียว
          ธุรกิจในรูปแบบบริษัท และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน และทำให้การปกป้องสิ่งแวดล้อม กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจได้สำเร็จ ด้วยการเสริมนโยบาย การออกกฎ การจูงใจ และการกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับแนวทางการทำธุรกิจให้มีรูปแบบสีเขียว ภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเรื่องการบรรเทาความยากจน (เป้าหมายข้อที่ 1) และการนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (เป้าหมายข้อที่ 7) โดยปรับให้เข้ากับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลสามารถนำเอานโยบายการพัฒนาสีเขียวซึ่งมีอยู่หลากหลาย มาใช้ในการเปิดกว้างทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคธุรกิจนำเอาแนวทางสีเขียวมาปรับใช้ สิ่งที่สำคัญคือการเสริมสร้างความตระหนักให้กับภาคเอกชน และสาธารณชน ว่าสถานการณ์ขาดแคลนทรัพยากร การดูแลสิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ มิใช่การเพิ่มต้นทุน ซึ่งจะเพิ่มแนวโน้มของภาคธุรกิจในการสร้างเทคโนโลยีที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตสินค้าและบริการอันเป็นมิตรต่อภูมิอากาศโลกได้อย่างมหาศาล
          Carbon Trust องค์กรอิสระ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นเรื่องการลดปริมาณการปลดปล่อย GHGs เสนอแนวทางเพื่อให้องค์กรทางธุรกิจต่างๆ ได้รับผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียว โดยให้แนวทาง และแผนดำเนินการ 5 ข้อดังนี้
  • ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ: การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการจัดการการใช้พลังงานใหม่ แนวทางนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบริษัท และเพิ่มผลกำไรได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาของแหล่งพลังงานเป็นไปในทิศทางบวกอย่างต่อเนื่อง การลดการใช้พลังงาน หรือปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนดังกล่าว ซึ่ง Carbon Trust ระบุว่า การลงทุนเพียงเล็กน้อย สามารถลดค่าใช้จ่ายทางพลังงานได้มากถึง 20%
  • เพิ่มมูลค่าทางการขายและใช้กระแสของการพัฒนารายได้ใหม่: จากการสำรวจของ Carbon Trust พบว่า มากกว่า 65% ของผู้บริโภคคิดว่าการบริโภคสินค้าจากผู้ผลิตที่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญ การตอบสนองต่อแนวคิดดังกล่างสามารถทำได้โดยการคิดค้น พัฒนาสินค้าและบริการให้อยู่ในกระแสการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทาง หรือเทคโนโลยีใหม่
  • เสริมสร้างความมั่นคงทางชื่อเสียง และเพิ่มความศรัทธาจากผู้บริโภค: บริษัทที่นำเสนอนวัตกรรมที่เป็นผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นที่กล่าวขานในเชิงบวกในหมู่ผู้บริโภค ผู้ขาย และผู้ลงทุน ภาพลักษณ์ของบริษัท และสินค้าจะดีขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันดี และใช้แนวทางการปฏิบัติที่ให้ผลที่ดีกว่า
  • การปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์: การดำเนินการโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาสีเขียวที่หลากหลาย จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการถูกปรับทางสิ่งแวดล้อมได้
          เพิ่มพูนประสิทธิภาพของพนักงาน: ขวัญกำลังใจของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตของบริษัท การรักษาสภาพการจ้างงาน และการสรรหาว่าจ้าง การปฏิบัติตามหลักธุรกิจสีเขียว จะดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีพรสวรรค์ และเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นผู้สนับสนุนสำคัญในหารขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางที่ถูกต้อง
4.3 โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
          เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่า โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่เป็นรากฐานของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการขนส่งปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น และบริการทางการสื่อสาร รูปแบบของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานจะต้องคำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ การปรับปรุงและขยายระบบโครงสร้างพื้นฐาน มักจะพบกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง เนื่องจากการเติบโตของสังคมเมือง การขยายเส้นทางของถนน การเพิ่มปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ พลังงาน และ การให้บริการทางสุขอนามัย โครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ทั้งพลังงาน น้ำ วัตถุดิบ และพื้นที่ หากไม่มีการวางแผนการจัดการที่ดี โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิตและบริโภคเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ยั่งยืน และยากแก่การเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน เป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้คุณภาพบริการจัดส่งถึงบ้าน การคมนาคม พลังงาน น้ำ ขยะ และการบริการทางสุขอนามัยดีขึ้น ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมแบบผสมผสาน  ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ และวิธีการแบบองค์รวม ด้วยการนำเอาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมาใช้ จะช่วยให้การบริการมีคุณภาพดีขึ้น ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดผลกระทบที่เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะโลกร้อน
4.4 ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ (Green Tax and Budget Reform: GTBR)
          ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับนโยบายทางการเงินสำหรับการลดปัญหาความยากจน การเพิ่มภาษี และการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ  การสาธารณสุข และคุณภาพสิ่งแวดล้อม แนวทางนี้เป็นการขับเคลื่อนหลักเพื่อนำไปสู่ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ธุรกิจสีเขียว การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณจะส่งผลให้เกิดการริเริ่มนโยบายส่งเสริมที่สำคัญอีก 2 เรื่อง ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นโยบายแรกคือ นโยบายภาษีสีเขียว ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีในกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น การสกัดทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การก่อมลภาวะ อีกนโยบายคือการปฏิรูปเงินอุดหนุนสีเขียวประกอบด้วยการกำจัดเงินอุดหนุนที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน และนำเงินส่วนนั้นไปเป็นเงินทุนสำหรับพื้นที่ที่สนับสนุนการพัฒนาสีเขียว และการลดปัญหาความยากจน การปรับใช้นโยบายทั้งสองเรื่องนี้ เป็นการส่งสัญญาณในแง่ของราคาสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นราคาที่สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้อย่างตรงไปตรงมา ในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการนำผลกระทบภายนอกเชิงลบมาพิจารณา เพื่อลดภาระทางภาษี และเป็นการป้องกันผลกระทบที่บิดเบือนทางโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน ภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณมีเป้าหมายที่จะรักษาสมดุลทางภาษี โดยลดภาษีเงินได้ เงินบำนาญ และ/หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อชดเชยการเพิ่มของภาษีสิ่งแวดล้อม
นโยบายของภาครัฐเพื่อผลักดันระบบภาษีสิ่งแวดล้อมและการปฏิรูปงบประมาณ
  • ระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control: CAC) โดยการจัดทำมาตรฐาน ติดตามตรวจวัด และการบังคับใช้
  • นโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) ผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
  • นโยบายทางภาษี (Fiscal Policy) โดยรวบรวมเงินทุนของรัฐด้านภาษีมาใช้จ่าย
          เครื่องมือทางการตลาด (Market-based Instrument: MBI)การส่งสัญญาณทางราคาสู่ตลาด เช่น ภาษี เงินอุดหนุน หรือการซื้อขายสิทธิ์ทางการค้า
4.5 ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators)                
          เพื่อให้กลุ่มประเทศในแถบนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของชาติ และการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบในมุมกว้าง  คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ได้ระบุความจำเป็นในการพัฒนาชุดข้อมูลดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ (Eco-efficiency Indicators: EEI) ซึ่งเป้าหมายของดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ คือการวัดและเปรียบเทียบค่า ประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์ ในประเทศต่างๆ และเพื่อเป็นการระบุให้มีมาตรการทางนโยบายในการปรับปรุงการเติบโตทางเศรษฐศาสตร์นี้  ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่จะทำให้ส่งเสริมบทบาทของภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง และจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอำนาจชี้นำต่อรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับชาติในมุมกว้าง

4.6 การลงทุนเกี่ยวกับต้นทุนทางธรรมชาติ (Investment in Natural Capital)
          ต้นทุนทางธรรมชาติในที่นี้ ถือเป็นรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐาน “สีเขียว” ซึ่งสนับสนุนสวัสดิภาพของประชากร และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม โดยมีผู้กล่าวไว้ว่า “คลังต้นทุนทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการหลั่งไหลทางมูลค่าทางระบบสมดุลของสินค้าและบริการสู่อนาคต” (It is a stock of natural ecosystems that yields a flow of valuable ecosystem goods or services into the future: Costanza 2008) ต้นทุนทางธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน มีบทบาทสำคัญในการดูดซับคาร์บอน และทำหน้าที่เป็นตัวปรับความสมดุลต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลสำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์อันสำคัญที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ การลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ โดยการลงทุนใช้จ่ายใด ที่ก่อให้เกิดการจัดการระบบนิเวศที่ยั่งยืน    ซึ่งส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเศรษฐกิจ จะถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาติทั้งสิ้น
          การลงทุนเพื่อลดปัญหาการชะล้างหน้าดิน และปัญหาภาระทางสารอาหาร เพื่อปรับปรุงการจัดการลุ่มน้ำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนเพื่อต้นทุนทางธรรมชาตินอกจากการสร้างระบบบำบัด น้ำเสีย  ในบรรดาแหล่งนิเวศบริการ (Ecosystem service) เช่น ประเทศเวียดนาม  และประเทศอินโดนีเซีย การลดการหลั่งไหลของระบบนิเวศบริการส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวดเร็ว และส่งผลต่อท้องถิ่น  เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาสในการนำแนวคิด ค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ (Payments for ecosystem Services: PES) มาปรับใช้ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการปกป้องและเพิ่มความสามารถในการบริการเชิงนิเวศ และเป็นการนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นที่ห่างไกล กลไกการลงทุนแบบเฉพาะเช่นนี้ สามารถดึงดูดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมาลงทุนเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสนับสนุนสังคม และเศรษฐกิจ   ในประเทศคอสตาริกา มีการใช้นวัตกรรมค่าตอบแทนทางนิเวศบริการ เช่น การอนุญาตให้ภาคธุรกิจและปัจเจกบุคคลจ่ายค่าตอบแทนผ่านเวปไซต์ เพื่อลงทุนในการจัดการป่าไม้ นักท่องเที่ยวก็สามารถลงทุนดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านทางสายการบินที่เดินทางสู่ประเทศคอสตาริกา และโรงแรมในประเทศนี้ ค่าตอบแทนจากประเทศอื่นๆ สำหรับระบบนิเวศบริการผ่านทางตลาดป่าไม้คาร์บอนสามารถเป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากผู้ได้รับผลประโยชน์ท้องถิ่น (เช่นผู้ใช้น้ำ และพลังงาน) เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าบริการต่างๆ เช่นกระบวนการกักเก็บคาร์บอน การอนุรักษ์ลุ่มน้ำ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน และยังช่วยบรรเทาปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

5. ตัวอย่างการพัฒนาสีเขียวของประเทศเกาหลีใต้

          ประเทศแรกๆ ที่ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาสีเขียวคือประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียวในช่วงปี 2009-2050 และได้วางแผนสำหรับ 5 ปีแรก (2009-2013) เพื่อให้ประเทศมีกรอบนโยบายที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว  ในระยะยาวจะใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาสีเขียว โดยมีเป้าหมายคือ
          1) ส่งเสริมให้มีเครื่องกลชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          2) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชากร
          3) มีส่วนร่วมกับนานาชาติในการรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
          และเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ดำเนินไปได้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาสีเขียวได้ถูกต่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีในปี 2009 และต่อมาได้ประกาศกรอบดำเนินการเกี่ยวกับการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำให้มีผลบังคับใช้ในปี 2010
          แผนดำเนินการ 5 ปี เป็นการกำหนดร่างการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อให้เกิดการนำยุทธศาสตร์ไปใช้ และระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวง และส่วนการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งให้งบประมาณพิเศษ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินโดยประมาณ 2% ของรายได้ประชาชาติมาใช้สำหรับเป็นงบประมาณของโครงการเพื่อการพัฒนาสีเขียวนี้ โดยจะเริ่มจากการขับเคลื่อนด้วยการลงทุนกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

6. การพัฒนาสีเขียวกับประเทศไทย

6.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติและระดับอื่นๆ โดยกำหนดให้บรรจุวาระเกี่ยวกับนโยบายสีเขียวลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559) โดยเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ
6.2 แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593
          แผนแม่บทเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกรอบดำเนินการในการผสานนโยบายและแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นแผนแม่บทที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และปรัชญาการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของไทย แผนแม่บทกล่าวถึงยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการได้แก่
          1) การบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
          2) การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคคล และองค์กร และเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นปัญหาร่วม
         3) การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การริเริ่มจากทุกภาคส่วน
ภาคพลังงาน
  • ตั้งเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานให้ได้ 25% ภายในปี 2030 โดยใช้พลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้พลังงานให้ได้ 20%
  • สร้างแผนดำเนินการระยะ 20 ปี เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงาน และพลังงานทางเลือก
ภาคป่าไม้ และการเกษตร
  • ส่งเสริมความสามารถของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มอัตราการดูดซับคาร์บอนผ่านการปลูกป่า และการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน
  • จัดสรรงบประมาณแห่งชาติ เพื่อก่อตั้งศูนย์ข้อมูล และระบบดาวเทียมในการติดตาม เฝ้าระวังพื้นที่ป่า การใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
ภาคของเสีย
  • พัฒนาการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากของเสีย รวมทั้งแผนที่จะสร้างโรงผลิตในกรุงเทพมหานคร
ภาคท้องถิ่น
  • ส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มนโยบาย เมืองสะอาด ใจสะอาด (Clean City Clean Mind) และ เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) โดยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางเทคนิคแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=7403

1.1 Carbon Footprint (CF) คืออะไร สำคัญอย่างไร?

           “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA : Life Cycle Assessment) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นการต่อยอดจากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วในอดีต ซึ่งมุ่งไปที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และหาตัวชี้วัดค่อนข้างยากสำหรับ LCA

           ส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ CF ซึ่งต่อไปเราจะเคยชินกับคำว่า CF สามารถคำนวณออกมาเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ ชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันชนิดใดที่มีคาร์บอนต่ำกว่า ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่า ส่งผลกระทบก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่การคิดคำนวณก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องอาศัยฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ สำหรับประเทศไทยค่อนข้างโชคดีที่ MTEC:ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พากเพียรพยายามจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (National Life CycleInventory Database) จนสามารถใช้เป็นข้อมูลในหลายๆ ผลิตภัณฑ์เพื่อทำโครงการนำร่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์
image0022 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพตัวอย่างเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศต่างๆ
1.2 LCI Database มีความสำคัญอย่างไร
          นานาชาติที่เป็นประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นใช้ LCI Database เป็นฐานข้อมูลพื้นฐานในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ โดย LCI Database กำลังถูกผลักดันให้เป็นมาตรฐานสากล (ISO) เนื่องจากวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ดี ในการประเมินความเป็นมิตรของผลิตภัณฑ์ บริการและองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Eco-Products/Eco-Label/Eco-Efficiency/Carbon Footprint สำหรับประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมก่อนใครในอาเซียน ภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้และพัฒนา Eco-products ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ส่วนภาครัฐก็สามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
1.3 สถานการณ์ของ Carbon Footprint (CF) ในประเทศไทย
          องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และ MTEC เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จาก CF โดยได้ร่วมกันจัดพิธีลงนาม การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ และฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตพร้อมการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมสยามซิตี้ มีการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จัดแสดงเครื่องหมาย CF แจ้งปริมาณคาร์บอนมาให้ความรู้กันอย่างคับคั่ง และได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช เป็นประธานในพิธี
1.4 วิธีการประเมิน CF: Carbon Footprint
         เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประกาศใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อนการประกาศมาตรฐานการประเมินตาม ISO 14067 ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งวิธีการจะไม่แตกต่างจากที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้
image0041 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพ CFP คำนวนจากวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ใน 5 ระยะ
โดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการคำนวณและดำเนินการ CF ดังนี้
(1) จัดทำ Life Cycle Flow Chart ของผลิตภัณฑ์
(2) เก็บข้อมูลในโรงงาน
(3) นำข้อมูลมาเปลี่ยนเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คูณด้วย CO2 emission intensity)
(4) รวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากทุกกระบวนการ = CF
พูดง่ายๆ ก็คือนำคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากทุกกระบวนการมาบวกกัน โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจาก MTEC ก็จะได้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ : CF
1.5 ตัวอย่าง การคำนวณ CF โครงการนำร่อง Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย
5 บริษัทชั้นนำอาสาเข้าโครงการนำร่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประกอบด้วย
1. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการบนเครื่องบิน
2. บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ 100%
3. บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด ผลิตภัณฑ์เสื้อยืด Cotton 100%
4. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์อาหารไก่
5. บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อก จำกัด ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยจะขอยกตัวอย่างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่คำนวณได้จากโครงการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้
image0063 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Foot Print)
รูปภาพตาราง CFP ของข้าวแกง + แกงเขียวหวานไก่ + ผัดผัก และมัสมั่นไก่
1.6 เก็บตกจากการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (CF)
          ท่านทราบหรือไม่ว่า การสระผมซึ่งโดยปกติใช้น้ำอุ่น เครื่องทำน้ำอุ่นใช้ไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ต้องนำมารวมด้วย หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง CF ของข้าวปั้นญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยไส้ปลาดิบหลาย ๆ ชนิด เมื่อนำข้าวใส่ไส้ปลาดิบแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกันปรากฏว่าข้าวปั้นปลาดิบไส้ปลาคอด (Cod) ซึ่งเป็นปลาน้ำลึกอยู่ไกลต้องใช้ทรัพยากรมาก มีค่า CF สูงที่สุด สำหรับท่านที่ชอบน้ำอัดลมกระป๋องหรือกล่องแบบ UHT ซึ่งการคิดคำนวณ ต้องนำ CF จากกระป๋องหรือกล่องมารวมกับน้ำอัดลม หรือนมในกล่อง จึงจะได้ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เราใช้ ในอนาคตอันใกล้ ท่านสามารถรวม CF ในแต่ละวันที่ท่านเป็นผู้ก่อเริ่มตั้งแต่อาหารมื้อเช้า น้ำอัดลม นม พอถึงที่ทำงานพื้นพรมก็มี CF และอีกหลายๆ อย่างรอบๆ ตัวก็จะมี CF กลับมาถึงบ้านอาบน้ำสระผมยาสระผมก็ยังมี CF ซึ่งวิถีชีวิตในแต่ละวันท่านอาจสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มก๊าซเรือนกระจกอย่างมากมาย หากรัฐมีนโยบายการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม PPP: Polluter Pays Principle เงินเดือนอาจไม่พอใช้ก็ได้คาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นภาระหรือพันธะของผู้ประกอบการ อยู่ที่มุมมองของท่าน แต่ที่แน่นอน CF จะต้องกลายเป็น NBT: Non Tariff Barrier หรือข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอากรในอีกไม่นานเกินรอจึงควรติดดาวให้กลุ่มนักวิชาการที่รณรงค์ในเรื่องนี้จนมีความพร้อมก่อนประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ดังนั้นองค์กรของรัฐที่ใช้งบประมาณแผ่นดินภาษีของประชาชน ก็ควรเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่พยายามออกกฎระเบียบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติ

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?p=5640
1 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกับชีวิตมีความสำคัญในด้านการเป็นความรู้พื้นฐานของการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน สังคม ประเทศ และโลก รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางอันเกื้อกูลต่อการพัฒนาตามครรลองของการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานับว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long  Learning) ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภททั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและการเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันตามอัธยาศัย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนพลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกภาคส่วนของสังคมตามเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ
          โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจิตสำนึก และเจตคติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

1. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ อะไร
          โรงเรียนที่มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนของโรงเรียนเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและของโลก  และพร้อมที่เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2. แนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการโรงเรียน  Eco-school
          โลกใบนี้อยู่ในภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม  ความท้าทายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสร้างพลเมืองได้มีความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ  และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  แต่ควรเป็นการสร้างพลเมืองที่จะสามารถปรับตัวและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
          แนวคิดของอีโคสคูลจึงมองเห็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา  คือ  การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มองเห็นความซับซ้อนของปัญหาความเชื่อมโยงกันของมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  การเมืองและวัฒนธรรม  และที่สำคัญ  คือ  พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ลังเลชักช้า
ดังนั้น  การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนจึงไม่สามารถจำกัดกรอบอยู่เพียงในตำราหรือห้องเรียน  แต่ควรเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว  มีเรื่องราวและปัญหาของท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการเรียนรู้  โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค  ระดับประเทศและระดับโลก
          เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และในสาขาอาชีพต่างๆก็สามารถผนึกเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ได้

3. หลักการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
          หลักการ  ” การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ” หรือ whole  school  approach  for  Environmental  education  เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน  อันประกอบด้วยพันธกิจ ๔ ด้าน  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์  และพัฒนา  และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง  “ พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ”

3 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school

นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ   ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านอื่นๆ  ให้ประสบความสำเร็จหรือพัฒนาโรงเรียนได้ทั้งระบบ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเป็นสำคัญ
           การจัดกระบวนการเรียนรู้   เป็นพันธะกิจที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่โรงเรียนและตัวนักเรียน    ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง   ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมของชุมชนที่นักเรียนอาศัย
           การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  จัดการเรียนรู้  “ ทางอ้อม ”  ให้กับผู้เรียน   เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่เป็น  “ วิถีปฏิบัติ ”  ปกติในโรงเรียนให้ขยายผลไปสู่บ้านและชุมชนของนักเรียนได้
           การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา   เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กทั้งบุคลากรฝ่ายต่างๆในโรงเรียน  และระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน   และโรงเรียนกับชุมชนภายนอก

4. อยากพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน  Eco-school  จะต้องทำอย่างไร
4 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          ๑. ทำความเข้าใจเรื่อง  “ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ”
          ๒. กำหนดคุณลักษณะที่อยากเห็นในตัวผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน
          ๓. พร้อมใจก้าวไปด้วยกันทั้งโรงเรียนและชุมชน
5 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นอีโคสคูล นั้น    จะให้ความสำคัญกับการ  “ ต่อยอด ” หรือ “ ปรับ/พัฒนา ” งานเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
          ๑. สำรวจต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนจากกรอบพันธกิจ ๔ ด้าน และกรอบการประเมินตนเอง
          ๒. วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนและประเมินทางเลือกพัฒนา *
หมายเหตุ  สามารถศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ “ คู่มือแนวทางการพัฒนาอีโคสคูล”http://ecoschoolsthailand.org/phocadownload/development-resize.pdf
6 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     ข้อมูลจากขั้นที่สองนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตามสภาพแวดล้อม  บริบททางสังคม วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง
พึงระวังกรอบพันธะกิจ ๔  ด้าน  ไม่ใช่ภาระผูกมัด  แต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้โรงเรียนก้าวเดินอย่างมั่นใจและเหมาะสมตามความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียน
71 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     โรงเรียนควรประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะ โดยใช้หลักเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นเครื่องมือ  เงื่อนไขของเวลาในการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่ง  มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  สิ่งสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนรู้ คือ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. จุดเน้นของ Eco-school
          ๑. กระบวนการพัฒนาโรงเรียนจะต้องเน้นให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกของนักเรียน  บุคลากรในโรงเรียน  และชุมชนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
          ๒. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน
          ๓. มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  พัฒนาการคิดเชิงระบบ
          ๔. บูรณาการประเด็นท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่าง  เช่น
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการขยะและมลพิษ
  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • การอนุรักษ์  ฟื้นฟูวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ

         ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
         ๖. โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชน
         ๗. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. Eco-school ในประเทศไทย
       กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD)  โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
        นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง
8 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school            สถาบันฯ ได้พัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี  โดยส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียน 77 จังหวัดทั่วประเทศร่วมดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน 4 แนวทางการดำเนินงาน คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน การลดขยะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงเรียน และการดำเนินงานในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8,600 ตัน ขณะที่ในโครงการลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง สามารถสนับสนุนให้โรงเรียน 7 แห่งดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จนสามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “ลดโลกร้อน ด้วยวิธีพอเพียง” และมีโรงเรียนเครือข่ายอีก 14 แห่งดำเนินงานด้านการพิทักษ์ภูมิอากาศด้วยวิถีพอเพียง

7. Eco school ในต่างประเทศ
          ในประเทศอังกฤษโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ Eco school เป็นหลักสูตรนานาชาติของการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับโรงเรียน โดยมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม (Foundation for Environmental Education : FEE) เป็นผู้ก่อตั้งและสนับสนุนโปรแกรมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา  โดยจุดมุ่งหมายของ Eco school คือการสร้างความตระหนักของนักเรียนในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาในห้องเรียนและชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมต่างๆ เช่น  น้ำเสีย ขยะพลังงาน  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ความหลากหลายทางชีวภาพ   คุณภาพชีวิต  แผนปฏิบัติการท้องถิ่น21  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจะต้องดำเนิน 7 ขั้นตอน คือ
          1) Establishment of the Eco-schools Committee
          2) Environmental review
          3) Action Plan
          4) Monitoring and Evaluation
          5) Curriculum Linking
          6) Informing and involving the wider community
          7) Eco-Code
10 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
      และเมื่อโรงเรียนประสบความสำเร็จ​​ก็จะได้รับรางวัลที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการจนสำเร็จ คือ  ‘ธงสีเขียว









ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. แนวทางการสร้างสรรค์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
         นปดล  นพเคราะห์ และคณะ (2556). การศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาใตะวันออกเฉียงเหนือ
         http://www.eco-schools.org/
         http://ecoschoolsthailand.org
         http://www2.keepbritaintidy.org/ecoschools/
         http://www.tei.or.th/w_ee/index.html