โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco-school

โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco-school

1 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกับชีวิตมีความสำคัญในด้านการเป็นความรู้พื้นฐานของการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน สังคม ประเทศ และโลก รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางอันเกื้อกูลต่อการพัฒนาตามครรลองของการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานับว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long  Learning) ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภททั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและการเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันตามอัธยาศัย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนพลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกภาคส่วนของสังคมตามเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ
          โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจิตสำนึก และเจตคติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

1. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ อะไร
          โรงเรียนที่มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนของโรงเรียนเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและของโลก  และพร้อมที่เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2. แนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการโรงเรียน  Eco-school
          โลกใบนี้อยู่ในภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม  ความท้าทายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสร้างพลเมืองได้มีความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ  และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  แต่ควรเป็นการสร้างพลเมืองที่จะสามารถปรับตัวและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
          แนวคิดของอีโคสคูลจึงมองเห็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา  คือ  การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มองเห็นความซับซ้อนของปัญหาความเชื่อมโยงกันของมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  การเมืองและวัฒนธรรม  และที่สำคัญ  คือ  พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ลังเลชักช้า
ดังนั้น  การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนจึงไม่สามารถจำกัดกรอบอยู่เพียงในตำราหรือห้องเรียน  แต่ควรเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว  มีเรื่องราวและปัญหาของท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการเรียนรู้  โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค  ระดับประเทศและระดับโลก
          เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และในสาขาอาชีพต่างๆก็สามารถผนึกเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ได้

3. หลักการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
          หลักการ  ” การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ” หรือ whole  school  approach  for  Environmental  education  เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน  อันประกอบด้วยพันธกิจ ๔ ด้าน  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์  และพัฒนา  และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง  “ พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ”

3 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school

นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ   ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านอื่นๆ  ให้ประสบความสำเร็จหรือพัฒนาโรงเรียนได้ทั้งระบบ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเป็นสำคัญ
           การจัดกระบวนการเรียนรู้   เป็นพันธะกิจที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่โรงเรียนและตัวนักเรียน    ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง   ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมของชุมชนที่นักเรียนอาศัย
           การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  จัดการเรียนรู้  “ ทางอ้อม ”  ให้กับผู้เรียน   เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่เป็น  “ วิถีปฏิบัติ ”  ปกติในโรงเรียนให้ขยายผลไปสู่บ้านและชุมชนของนักเรียนได้
           การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา   เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กทั้งบุคลากรฝ่ายต่างๆในโรงเรียน  และระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน   และโรงเรียนกับชุมชนภายนอก

4. อยากพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน  Eco-school  จะต้องทำอย่างไร
4 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
          ๑. ทำความเข้าใจเรื่อง  “ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ”
          ๒. กำหนดคุณลักษณะที่อยากเห็นในตัวผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน
          ๓. พร้อมใจก้าวไปด้วยกันทั้งโรงเรียนและชุมชน
5 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นอีโคสคูล นั้น    จะให้ความสำคัญกับการ  “ ต่อยอด ” หรือ “ ปรับ/พัฒนา ” งานเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
          ๑. สำรวจต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนจากกรอบพันธกิจ ๔ ด้าน และกรอบการประเมินตนเอง
          ๒. วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนและประเมินทางเลือกพัฒนา *
หมายเหตุ  สามารถศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ “ คู่มือแนวทางการพัฒนาอีโคสคูล”http://ecoschoolsthailand.org/phocadownload/development-resize.pdf
6 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     ข้อมูลจากขั้นที่สองนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตามสภาพแวดล้อม  บริบททางสังคม วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง
พึงระวังกรอบพันธะกิจ ๔  ด้าน  ไม่ใช่ภาระผูกมัด  แต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้โรงเรียนก้าวเดินอย่างมั่นใจและเหมาะสมตามความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียน
71 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
     โรงเรียนควรประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะ โดยใช้หลักเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นเครื่องมือ  เงื่อนไขของเวลาในการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่ง  มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  สิ่งสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนรู้ คือ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. จุดเน้นของ Eco-school
          ๑. กระบวนการพัฒนาโรงเรียนจะต้องเน้นให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกของนักเรียน  บุคลากรในโรงเรียน  และชุมชนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
          ๒. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน
          ๓. มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  พัฒนาการคิดเชิงระบบ
          ๔. บูรณาการประเด็นท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่าง  เช่น
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการขยะและมลพิษ
  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • การอนุรักษ์  ฟื้นฟูวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ

         ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
         ๖. โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชน
         ๗. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. Eco-school ในประเทศไทย
       กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD)  โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
        นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง
8 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school            สถาบันฯ ได้พัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี  โดยส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียน 77 จังหวัดทั่วประเทศร่วมดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน 4 แนวทางการดำเนินงาน คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน การลดขยะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงเรียน และการดำเนินงานในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8,600 ตัน ขณะที่ในโครงการลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง สามารถสนับสนุนให้โรงเรียน 7 แห่งดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จนสามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “ลดโลกร้อน ด้วยวิธีพอเพียง” และมีโรงเรียนเครือข่ายอีก 14 แห่งดำเนินงานด้านการพิทักษ์ภูมิอากาศด้วยวิถีพอเพียง

7. Eco school ในต่างประเทศ
          ในประเทศอังกฤษโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ Eco school เป็นหลักสูตรนานาชาติของการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับโรงเรียน โดยมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม (Foundation for Environmental Education : FEE) เป็นผู้ก่อตั้งและสนับสนุนโปรแกรมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา  โดยจุดมุ่งหมายของ Eco school คือการสร้างความตระหนักของนักเรียนในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาในห้องเรียนและชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมต่างๆ เช่น  น้ำเสีย ขยะพลังงาน  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ความหลากหลายทางชีวภาพ   คุณภาพชีวิต  แผนปฏิบัติการท้องถิ่น21  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจะต้องดำเนิน 7 ขั้นตอน คือ
          1) Establishment of the Eco-schools Committee
          2) Environmental review
          3) Action Plan
          4) Monitoring and Evaluation
          5) Curriculum Linking
          6) Informing and involving the wider community
          7) Eco-Code
10 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
      และเมื่อโรงเรียนประสบความสำเร็จ​​ก็จะได้รับรางวัลที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการจนสำเร็จ คือ  ‘ธงสีเขียว









ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. แนวทางการสร้างสรรค์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
         นปดล  นพเคราะห์ และคณะ (2556). การศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาใตะวันออกเฉียงเหนือ
         http://www.eco-schools.org/
         http://ecoschoolsthailand.org
         http://www2.keepbritaintidy.org/ecoschools/
         http://www.tei.or.th/w_ee/index.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น